10 ธรรมเนียมที่ควรรู้ก่อนไปเที่ยวญี่ปุ่น

1.การเรียกชื่อผู้อื่นด้วยความเคารพ
การโค้งคำนับเปรียบได้กับศิลปะชนิดหนึ่งของญี่ปุ่น เด็กๆชาวญี่ปุ่นจะได้รับการปลูกฝังเรื่องการเคารพนี้ตั้งแต่ก่อนที่พวกเขาจะเข้าโรงเรียน แต่สำหรับนักท่องเที่ยวทั่วไปแล้ว แค่โน้มหัวลงเล็กน้อยหรือโค้งคำนับถึงช่วงเอวก็เพียง
พอแล้ว
ระยะยเวลาในการค้างอยู่ที่ท่าโค้งคำนับนั้นจะขึ้นอยู่กับระดับสัดส่วน ความสูงของผู้ที่คุณกำลังทักทายด้วยเช่นกัน เช่น การทักทายกับเพื่อนฝูง ก็จะโค้งให้กันอย่างรวดเร็ว โน้มตัวลงมาประมาณ 30 องศาก็พอ ส่วนการทักทายกับคนที่ตำแหน่งงานสูงกว่าคุณ หรืออาวุโสกว่า การโค้งคำนับก็อาจจะค้างนานขึ้นมานิดหน่อย พร้อมทั้งโน้มตัวลงมาต่ำลงกว่าที่คุณทักทายเพื่อน ประมาณ 70 องศาด้วย แต่ทั้งหมดนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและตำแหน่งทางสังคมด้วย
เพิ่มเติมในส่วนของเรื่องโค้งคำนับ การเรียกชื่อผู้อื่นก็เป็นสิ่งสำคัญด้วย อย่างคุณเรียก “ดร. สมิธ” ว่า “สมิธ” เฉยๆอาจเป็นการไม่สุภาพและสื่อไปในเชิงดูหมิ่น ในฝั่งประเทศญี่ปุ่นก็ถือเป็นการไม่ให้ความเคารพเช่นกัน ถ้าคุณไม่ได้ลงท้ายว่า “ซัง” หรือ “ซามะ” ตามหลังนามสกุลของพวกเขา
โดยปกติแล้ว การเรียกเด็กๆสามารถเรียกแค่ชื่อของพวกเขาได้เลย แต่คุณสามารถลงท้ายตามหลังชื่อของเด็กๆว่า “จัง” สำหรับเด็กผู้หญิง และ “คุง” สำหรับเด็กผู้ชายได้เช่นกัน

2.มารยาทบนโต๊ะอาหาร
อธิบายาเป็นข้อๆได้ดังนี้
เมื่อคุณอยู่ในงานปาร์ตี้มื้อค่ำงานหนึ่งแล้วมีคนยื่นเครื่องดื่มให้ ให้คุณหยุดคอยสักครู่ก่อน รอให้เครื่องดื่มเสิร์ฟครบหมดทั้งโต๊ะ แล้วจะมีคนกล่าวนำ ยกแก้วขึ้นพร้อมกล่าวคำว่า “คัมปาย” (ดื่ม) แล้วจึงดื่ม
แทบทุกร้านอาหารในญี่ปุ่นจะมีการแจกผ้าให้แก่ลูกค้า เพื่อใช้เช็ดมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร เมื่อเช็ดเสร็จแล้ว ให้คุณค่อยๆม้วนเก็บผ้าและวางไว้บนโต๊ะ อย่าใช้ผ้านี้เป็นผ้าสำหรับเช็ดปาก หรือเช็ดหน้า
การดูดเส้นก๋วยเตี๋ยวดังๆนั้นเป็นเรื่องที่ดี! อันที่จริงแล้ว การดูดเส้นก๋วยเตี๋ยวหรือเส้นราเมนดังๆนั้นถือเป็นการแสดงให้เห็นว่า คุณเอร็ดอร่อยกับอาหารมื้อนั้น ซี่งถือเป็นเรื่องสุภาพทั่วไป
คุณสามารถยกชามขึ้นมาไว้ตรงปากแล้วใช้ตะเกียบโกยอาหารเข้าปากได้ เพื่อให้ง่ายต่อการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะการรับประทานข้าวในชาม
ก่อนที่จะอิ่มหนำกับมื้ออาหาร ไม่ว่าจะเป็นมื้ออาหารแบบฟูลคอร์ส หรืออาหารกล่องตามซูเปอร์แล้วนั้น คุณควรจะพูดว่า “อิทาดาคิมัส” (ทานแล้วนะครับ/ค่ะ) ก่อนทุกครั้งเพื่อความสุภาพ

3.ไม่ควรให้ทิปแก่พนักงาน
ในญี่ปุ่นจะไม่มีธรรมเนียมการให้ทิปแก่พนักงานไม่ว่าจะกรณีใดๆ ไม่ว่าจะเป็นแท็กซี่ ร้านอาหาร หรือการบริการอื่นๆ ในญี่ปุ่นเขาถือกันว่า การให้ทิปเท่ากับเป็นการดูถูก เพราะเขาคิดว่า บริการที่คุณได้รับนั้น เหมาะสมกับราคาที่เขาตั้งมาไว้แล้ว เพียงพอแล้ว ทำไมต้องจ่ายเพิ่มด้วย?
ถ้าคุณอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ๆ เช่นโตเกียว และคุณพูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้ บริกรหญิงหรือชายจะรับเงินทิปของคุณที่คุณทิ้งไว้ให้มากกว่าจะอธิบายถึงเหตุผลว่าทำไมประเทศญี่ปุ่นถึงไม่นิยมรับเงินทิปแทน แถมพวกเขายังพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยคล่องอีกด้วย
จำไว้ติดตัวเสมอว่า: ราคาไหน ราคานั้น

4.เรื่องของตะเกียบ
คุณอาจจำเป็นต้องใช้ตะเกียบ แต่ก็ขึ้นอยู่กับร้านอาหารมื้อค่ำที่คุณเลือกใช้บริการด้วย ถ้าหากคุณไม่เคยใช้ตะเกียบมาก่อน ไม่ชำนาญกับการใช้ตะเกียบ พยายามศึกษา เรียนรู้และฝึกใช้ตะเกียบก่อนผ่านเข้าด่านตรวจคนเข้าเมืองจะเป็นการดี และมันไมได้ยากเย็นอะไรเลย
สมมติฐานผิดๆอย่างหนึ่งในหมู่ชาวญี่ปุ่นที่ค่อยๆเลือนหายไปตามกาลเวลานั่นคือ “ความเป็นเอกลักษณ์” ของญี่ปุ่น จำพวก “ญี่ปุ่นเป็นประเทศหมู่เกาะ, ญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวที่มีสี่ฤดู, ชาวต่างชาติไม่มีทางเข้าใจประเทศญี่ปุ่นอย่างแท้จริง, มีแต่คนญี่ปุ่นเท่านั้นที่สามารถใช้ตะเกียบได้อย่างถูกต้อง” เป็นต้น
นับครั้งไม่ถ้วนเลยที่มีคนมาเล่าให้ผมฟังว่า ผมใช้ตะเกียบได้เก่งกาจและสง่างาม ทั้งๆที่ผมเคยเห็นเด็กสามขวบใช้ตะเกียบได้เก่งพอกัน ถ้าคุณได้ร่วมโต๊ะกับคนญี่ปุ่นแล้ว อย่าได้แปลกใจถ้าหากพวกเขาส่งสายตาประหลาดใจใส่คุณที่เห็นคุณรับประทานอาหารราวกับคนญี่ปุ่นมาเอง

5.ซุ้มประตู
ควรถอดรองเท้าออกก่อนที่คุณจะก้าวเข้าบ้านทุกหลัง รวมถึงโรงแรมและตึกสำนักงานต่างๆด้วย โดยปกติแล้วเขาจะมีชั้นวางรองเท้าไว้ให้คุณเก็บรองเท้าของตัวเอง เพื่อเปลี่ยนไปสวมรองเท้าแตะสำหรับแขกซึ่งวางไว้ข้างๆกัน คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะนำรองเท้าแตะมาเผื่อเปลี่ยนเวลาต้องเข้าอาคารด้วย
ห้ามสวมรองเท้าแตะเวลาที่คุณจะขึ้นไปบนเสื่อทาทามิ (นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในโรงแรมญี่ปุ่น หรือตามที่พักอาศัย) และระวังเวลาสับเปลี่ยนระหว่างรองเท้าแตะกับรองเท้าสำหรับเข้าห้องน้ำด้วย
การสวมใส่รองเท้าแตะที่เปื้อนเสื่อน้ำมัน แล้วเดินกลับเข้ามาภายในห้องรับแขกของบ้านถือเป็นเรื่องที่แย่มากเช่นกัน

6.หน้ากาก
โรคซาร์สได้หยุดแพร่ระบาดไปนานแล้ว กระนั้นผมก็ยังพบเห็น “ชุดเตรียมการรับมือโรคซาร์ส” ระหว่างที่ผมพักฟื้นอยู่ในโรงพยาบาลที่ญี่ปุ่นอยู่ อย่างไรก็ตาม หน้ากากอนามัย แบบเดียวกับที่คุณพบเห็นบ่อยๆแถวห้องฉุกเฉินนั้น ก็ยังเป็นที่นิยมในหมู่มนุษย์เงินเดือนในญี่ปุ่นอยู่ เพื่อป้องกันผู้อื่นจากการแพร่เชื้อโรคของตนเอง
ค่อนข้างสมเหตุสมผลอยู่เมื่อมาลองคิดดู หน้ากากพวกนี้ไม่ได้ป้องกันผู้สวมใส่เท่าที่คนที่อยู่รอบตัวเขาเท่าไหร่นัก สาเหตุอาจเป็นอะไรก็ได้ไล่ตั้งแต่ไข้หวัดธรรมดาๆ ไปจนถึงกังวลที่จะเปิดเผยหน้าตาแก่สาธารณชน อย่าให้เรื่องพรรค์นี้มากวนใจคุณระหว่างทริปเที่ยวญี่ปุ่นของคุณเลย

7.การปรับตัว
เมื่อสอบถามกลุ่มนักเรียนมัธยมในญี่ปุ่นว่า ภัยอันตรายแบบใดที่เด็กๆกำกลังเผชิญหน้าอยู่ในทุกวัน กลุ่มนักเรียนได้ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า สิ่งที่พวกเขาถือเป็นภัยคุมคามอันดับหนึ่งนั่นคือ: การปลีกวิเวก
สังคมของคนญี่ปุ่นจะเน้นไปที่การเข้าสังคม การจับกลุ่มกัน ส่วนวัฒนธรรมของคนตะวันตกจะเป็นส่วนบุคคลมากกว่า นี่ก็หมายความว่า คนญี่ปุ่นเปรียบได้ไม่ต่างอะไรกับผึ้งงานที่ทำงานอยู่ในรังผึ้งที่ทำจากคอนกรีตขนาดใหญ่ใช่ไหม? ไม่ใช่แน่นอน แต่การแสดงออกของพวกเขาต่อใครคนใดคนหนึ่งจะมีการคำนวณอย่างรอบคอบก่อนที่จะแสดงอะไรออกไปตลอด
การทำอะไรที่เป็นการดึงดูดความสนใจเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเลย จามในที่สาธารณะก็ไม่ควร หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเดินไปกินไปเสีย และห้ามคุยโทรศัพท์มือถือในที่แออัดเช่น บนรถไฟ ในลิฟต์ หรือบนรถเมล์เป็นต้น ปัญหาหลักคือ ชาวต่างชาติไม่สามารถขยับไปไหนได้ เราต้องยืนติดกันเป็นปลากระป๋องแทบทุกที่ ไม่ว่าเราจะอยู่ที่นี่มานานเท่าไหร่ หรือคุ้นเคยกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นมานานแค่ไหนแล้วก็ตาม
สรุปแล้ว การมาอยู่ในประเทศญี่ปุ่น สำหรับชาวต่างชาติแล้ว คุณจะได้รับประสบการณ์ที่แปลกตา คุณจะถูกจ้องมอง ตะโกนเรียกความสนใจ ขอถ่ายรูปและขอลายเซ็น (ผมโดนมาแล้วแถวหมู่เกาะทางภาคใต้)

8.การอาบน้ำ
โรงอาบน้ำสาธารณะยังมีอยู่และเป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่น เซนโต หรือโรงอาบน้ำสาธารณะ พบเห็นได้ทั่วไปตั้งแต่เขตเมืองใหญ่ในชินจูกุ จนไปถึงแถบเมืองเล็กๆบนเกาะชิโกกุ
ออนเซ็น หรือบ่อน้ำพุร้อน ก็เป็นที่นิยมมากตามรีสอร์ทอีกเช่นกัน โรงอาบน้ำญี่ปุ่นจะเป็นที่ให้ผู้คนเข้ามาแช่น้ำร้อนกันสัก 10,20,30 นาที หลังจากที่คุณชำระล้างร่างกายแล้ว ซึ่งแตกต่างกับวัฒนธรรมของชาวตะวันตก ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
ถ้าคุณได้รับเชิญให้ไปที่บ้านของชาวญี่ปุ่น คุณจะได้รับเกียรติให้ใช้บ่อน้ำ อาบน้ำเป็นคนแรก ก่อนที่มื้อเย็นจะเริ่ม ระวังอย่าทำน้ำสกปรกเป็นดี อย่างไรก็ตาม ความศักดิ์สิทธิ์ของ โอฟุโร (การอาบน้ำ) ถือเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด
ถ้ามีโอกาส ก็อยากให้ลองแวะไปเยี่ยม เซนโต โรงอาบน้ำนี้ถือเป็นสถานที่ที่ไร้สิ่งขวางกั้น ไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ สีผิว อายุ หรือภาษา แต่ก็ ยังมีการแบ่งแยกเพศชาย-หญิงอยู่เหมือนเดิม แหงล่ะ การทอดตัวลงในอ่างน้ำร้อนแล้วเงี่ยหูฟังเสียงหัวใจเต้นของผมเองถือเป็นช่วงเวลาที่ผมรู้สึกได้ใกล้ชิดกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นมากที่สุด

9.พูดภาษาอังกฤษ
คนญี่ปุ่นทุกคนจะเหมารวมชาวต่างชาติทุกคนว่าเป็นชาวอังกฤษ พูดกาษาอังกฤษหมด เว้นแต่คุณจะแสดงให้พวกเขาเห็นว่าไม่ใช่ ในช่วงที่คุณเที่ยวอยู่นั้น คุณจะพบกับ
กลุ่มเด็กนักเรียนในชุดเครื่องแบบสุดเรียบร้อย เดินข้ามสี่แยก ตะโกน “เฮลโล เฮลโล” ใส่คุณ เป็นการบอกนัยๆว่าคุณคือชาวต่างชาติสำหรับพวกเขา
ผู้คนทั่วไปเดินเข้ามาหาคุณแล้วถามว่า Where are you from? (คุณมาจากไหน?)
ดูเป็นมิตรใช่ไหม? แน่ล่ะ แต่ผมสังเกตเห็นได้เลย ว่าพวกเขาจะแสดงสีหน้าสับสน และหงุดหงิดมากถ้านักเดินทางกลุ่มนั้นไม่พูดภาษาอังกฤษ
แม้ว่าคุณจะพอพูดภาษญี่ปุ่นได้บ้าง หรือพูดได้คล่องแคล่วเลยก็เถอะ ภาษาทางเลือกที่ดีที่สุดก็ยังคงเป็นภาษาอังกฤษ คนญี่ปุ่นหลายคนยืนกรานที่จะใช้ความสามารถทางภาษาอังกฤษของพวกเขาเอง พูดกับพวกเราที่เป็นคนต่างชาติ ถึงแม้คนต่างชาติที่พวกเขาพูดด้วยจะพูดญี่ปุ่นคล่องมากก็ตาม

10.ความปลอดภัย
คนญี่ปุ่นทุกคนที่ผมพานพบจะชอบเตือนผมเรื่องความปลอดภัยในการเดินทาง เช่นเตือนให้ผมระวังเรื่องสิ่งของมีค่า เป็นต้น แต่กับชาวต่างชาติด้วยเขาจะพูดว่า ไม่ต้องเป็นห่วง ไม่มีอะไรผิดพลาดหรอก ไม่โดนขโมยหรอก ทั้งหมดนี้อาจจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคนที่พบเจอมา แต่ปัญหาอื่นนี่สิ
ความกลัวในเรื่องอาชญากรรมในญี่ปุ่นนั้นสูงมาก โดยเฉพาะในหมู่พลเมืองชาวญี่ปุ่น
มีการฆาตรกรรมกัน ย้ำอีกที ยังมีการฆาตรกรรมกันอยู่ ผู้คนถูกทำร้าย ถูกจี้ปล้น ถูกประทุษร้าย ถูกข่มขืน ถูกซ้อม และถูกฉ้อโกง สิ่งเหล่านี้ยังมีให้เห็นอยู่ในญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตาม อัตราการเกิดอาชญากรรมในญี่ปุ่นก็ยังอยู่ในระดับต่ำ เห็นได้ชัดเลยเมื่อคุณเห็นนักธุรกิจที่พลาดรถไฟขากลับของพวกเขา นอนหลับอยู่บนม้านั่งยาวในสวนสาธารณะ หรือกลุ่มเด็กๆอายุประมาณห้าขวบพากันเดินร่วมกิโลเพื่อไปให้ทันโรงเรียนเข้า เป็นต้น