บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของญี่ปุ่นเตรียมสนับสนุนแคบเบจ ระบบกู้เงินออนไลน์เพื่อธุรกิจสตาร์ทอัพ

แคบเบจ ระบบกู้เงินออนไลน์เพื่อธุรกิจสตาร์ทอัพมูลค่ากว่าพันล้านเหรียญสหรัฐ ได้ประกาศการทำตราสารเงินทุนกับ Softbank เทเลคอม ยักษ์ใหญ่ด้านการสื่อสารโทรคมนาคมของญี่ปุ่น ตามที่ได้มีการแถลงข่าวไป

Softbank เทเลคอม ยักษ์ใหญ่ด้านการสื่อสารโทรคมนาคมของญี่ปุ่น
http://tm.softbank.jp/english/personal/

แคบเบจ ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2008 เพื่อทำลายช่องว่างในการกู้เงินมาลงทุนทำธุรกิจ มีลูกค้าอยู่ในระบบถึง 100,000 คน ปล่อยเงินให้กู้ไปแล้วกว่า 3.5 พันล้านเหรียญสหรัฐในการระดมทุนให้กับธุรกิจทั้งขนาดเล็ก และขนาดกลางที่เพิ่งจะตั้งไข่

นอกจากนี้ แคบเบจยังคอยสนับสนุนเครื่องใช้สอยอัตโนมัติให้กับธนาคารสาขาใหญ่ๆเช่นซานแทนเดอร์และสโคเชียแบงค์

ซอฟต์แบงค์ บริษัทแม่ เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ทั้งของ Yahoo! ประเทศญี่ปุ่น และ Sprint ผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ตามที่ร็อบ โฟรไวน์ ผู้ก่อตั้งร่วมและซีอีโอของแคบเบจกล่าวไว้ การลงทุนที่มีมูลค่าหลายล้านเหรียญสหรัฐของซอฟต์แบงค์นี้ แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มเงินทุนครั้งใหญ่ในพื้นที่กู้ยืมเงินแก่บรรดาธุรกิจดิจิทัลขนาดเล็กทั้งหลาย

“ด้วยการลงทุนครั้งนี้ แคบเบจจะสามารถขยายการกู้ยืมผลิตภัณฑ์ของตนให้ไปสู่ธุรกิจขนาดเล็กได้อย่างกว้างขวางขึ้น และสำรวจการให้บริการที่เกี่ยวเนื่องแก่ลูกค้าของตนไปพร้อมๆกันได้” เขาตอบกลับในอีเมล ส่งถึง บิสเนส อินไซเดอร์ โดยโฆษกแถลงข่าว

ตามที่โฟรไวน์กล่าวไว้ ว่าการระดมทุนนี้จะช่วยให้บริษัทสามารถจัดหาผลิตภัณฑ์ ออกใบแจ้งหนี้และการชำระเงินให้แก่ลูกค้าได้อย่างเฉพาะเจาะจง นอกจากนี้ยังช่วยให้บริษัทปรับแต่ง แก้ไขข้อเสนอของพวกเขาเองในโอกาสต่อๆไปได้อีกด้วย

“ร้านอาหาร ธุรกิจก่อสร้าง และร้านค้าขายปลีกพวกนี้ จะมีโมเดลธุรกิจที่แตกต่างกัน ฤดูกาลที่ต่างกัน รวมไปถึงการสะพัดของเงินก็ต่างกัน” โฟรไวน์กล่าว “เราเชื่อว่าผลิตภัณฑ์ทางการเงินควรได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมกับพวกเขา ไม่ใช่ยัดทุกอย่างไปให้หมด”

การระดมทุนของซอฟต์แบงค์ครั้งนี้ นำพาให้ยอดของเงินลงทุนสูงถึง 500 ล้านเหรียญสหรัฐ และตามรายงานจากโฆษกของแคบเบจ กล่าวว่าแคบเบจมีมูลค่าประมาณ 1 พันล้านเหรียญเมื่อปี ค.ศ. 2016

บริษัทญี่ปุ่นทำการซื้อกิจการซาโดลิน เพ้นท์ในแอฟริกาตะวันออกได้สำเร็จ

จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ บริษัท คันไซ เพ้นท์ ประเทศญี่ปุ่น ได้เข้าซื้อกิจการของบริษัท ซาโดลิน เพ้นท์ อูกันดา จำกัด โดยเจ้าหน้าที่ที่เป็นตัวแทนของทั้งสองบริษัทได้จัดงานแถลงข่าวแก่สื่อมวลชนขึ้นที่โรงงานมูลค่า 10 ล้านยูเอสดอลลาร์ของบริษัท ที่ตั้งในใจกลางนิคมอุตสาหกรรมนามันวี นอกเมืองกัมปาลาเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม
เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไม่ได้เปิดเผยถึงจำนวนเงินที่ใช้ซื้อกิจการ อีกทั้งคันไซยังได้กรรมสิทธิ์ในการดำเนินงานของซาโดลินทั้งหมดในแอฟริกาตะวันออกอีกด้วย
คริส นูเกนท์ กรรมการผู้จัดการของซาโดลินกล่าวว่า ทั้งผลิตภัณฑ์และการบริการของบริษัทยังคงเหมือนเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด “มีแต่ชื่อเท่านั้นแหละที่เปลี่ยน” เขากล่าว “ไม่ว่าจะพนักงาน ราคาสินค้า หรือโลโก้บริษัทก็ยังคงเดิม”
เขากล่าวอีกว่า เราเริ่มมีการคิดชื่อใหม่ให้กับซาโดลินและคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในหกอาทิตย์ข้างหน้า
นูเกนท์ไม่ได้เผยรายละเอียดที่มาของการซื้อกิจการในครั้งนี้ “มันมีเรื่องของข้อผูกมัดบางอย่างที่ไม่ลงรอยกันกับคู่ค้าของเราในเรื่องของข้อกำหนดใช้สี” เขากล่าว
วิม แบรมเมอร์ กรรมการผู้จัดการของคันไซ พลาสคอน อีสต์ แอฟริกา ที่ตั้งอยู่ในไนโรบี ประเทศเคนยา กล่าวว่า เขายินดีกับการซื้อกิจการครั้งนี้ เพราะยี่ห้อนี้เป็นที่รู้จักกันดีในอูกันดา เพิ่มเติมคือเราก็จะสามารถร่วมมือกันวางแผนเพื่อขยายขอบเขตการลงทุนไปถึงแอฟริกาตะวันออกและเขตที่เหลืออื่นๆในแอฟริกาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เขากล่าวเสริมอีกว่า อุตสาหกรรมก่อสร้างในอูกันดาเริ่มเติบโตมากขึ้นเช่นเดียวกับชนชั้นแรงงานที่เพิ่มขึ้นตาม ทำให้ความต้องการอุปกรณ์ก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึงสีด้วยเช่นกัน
“ผมมีความยินดีที่จะประกาศว่าเราได้ทำการซื้อซาโดลินที่เต็มไปด้วยพนักงานมากความสามารถมาได้สำเร็จ” เขากล่าว “เราจะทำการนำเข้าเทคโนโลยีใหม่ๆ ทันสมัยเข้ามาเพิ่มมูลค่าให้กับบริษัทอย่างแน่นอน” แบรมเมอร์กล่าว
ตามที่นูเกนท์กล่าว ซาโดลินก่อตั้งขึ้นในประเทศอูกันดา เมื่อปี ค.ศ. 1963 และเป็นผู้ควบคุมตลาดสีก่อสร้างกว่า 60% อูกันดามีบริษัทที่ทำกิจการเรื่องสีก่อสร้างแบบจริงๆจังๆไม่ถึง 5 บริษัท

เกร็ดน่ารู้

คันไซเพ้นท์เป็นบริษัทสากลที่มีฐานปฏิบัติการอยู่ที่ญี่ปุ่น จีน เอเชีย ตะวันออกกลาง ยุโรปและแอฟริกา ผลิตภัณฑ์ของบริษัทนี้เกี่ยวข้องกับงานอุตสาหกรรม ตกแต่ง สีป้องกันบ้าน ตึกอาคาร และกลุ่มยานยนต์ ทางบริษัทมีสถาบันวิจัยและพัฒนาอยู่ที่ญี่ปุ่น อินเดียและแอฟริกาใต้

หนังญี่ปุ่นเรื่อง “แฮปปี้เนส” ได้สอนให้รู้ว่า การใช้เทคโนโลยีมาแก้ไขปัญหาความโศกเศร้ามันยิ่งทำให้ชีวิตย่ำแย่ลง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่คอลัมน์ “กระดาษโกงเกม (Cheat Sheet)” คอลัมน์ที่จะมาวิเคราะห์แยกส่วนหนังที่ฉายในเทศกาลต่างๆ งานเปิดตัววีอาร์ และงานอีเวนต์พิเศษอื่นๆอีกมากมาย บทวิจารณ์นำมาจากงานฉายภาพยนตร์เอเชียที่นิวยอร์ก หรืองาน New York Asian Film Festival นั่นเอง

หนังญี่ปุ่นเรื่อง “แฮปปี้เนส” เปรียบเหมือนกับการขับรถสีดำทะมึน บนถนนที่มุ่งไปสู่เงามืดอย่างช้าๆ ยิ่งขับไปลึกเท่าไร ก็ยิ่งมองไม่เห็นแสงมากเท่านั้น จากนั้น หน้าต่างก็เลื่อนลงมา เผยให้เห็นใบหน้าคนขับที่จ้องมองผู้ชมอย่างไม่กระพริบ แล้วก็ขับรถหายไปในพริบตา ทิ้งไว้ซึ่งความรู้สึกอึ้งอย่างบอกไม่ถูกแก่ผู้ชม
เหมือนในหนังเรื่องนี้ที่ไม่ยอมอธิบายความเป็นมาเป็นไปของตัวละครหลักให้ผู้ชมเข้าใจเลย รู้เพียงแค่เป็นชายหนุ่มไว้ผมทรงเอลวิส เพรสลีย์ ที่เอาแต่คร่ำครวญกับเรื่องราวต่างๆ น่าสงสารเนอะ เพราะว่าจุดแข็งของหนังเรื่องนี้คือการที่ค่อยๆเผยเรื่องราวของตัวละคร การเล่าเรื่องที่ค่อยๆสร้างอารมณ์ร่วมให้กับผู้ชม และรู้สึกไปกับตัวละครนั้นๆ ความเงียบ วังเวงที่แผ่ซ่านไปทั่วตัวหนัง และการใช้ความเนือยให้กับหนังเพื่อเอาไปขยี้ในฉากไคลแมกซ์ ขณะที่เสียงบรรยากาศรอบๆทำหน้าที่สะท้อนอารมณ์ ความนึกคิดของตัวเอกให้ผู้ชมเห็น หนังเรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องมีดนตรี เพราะหนังใช้ความเงียบมาทำให้หนังดูเป็นสัจนิยม ซึ่งก็เป็นประโยชน์แก่ท้องเรื่องที่มีความเป็นแฟนตาซีหน่อยๆเหมือนกัน

แล้วมันแนวไหนล่ะ เรื่องนี้?
แนวอินดี้ ลึกลับ ที่มีส่วนประกอบของเครื่องมือที่รวมเอานวนิยายไซไฟกับแพทย์แผนโบราณของเอเชียเข้ามาไว้ด้วยกัน

เรื่องมันเป็นยังไง?
เนื้อเรื่องจะพูดถึงหมวกกันน็อกลึกลับใบหนึ่งที่ติดแป้นตัวอักษรพิมพ์ดีดสีทองไว้เต็มหมวก พร้อมด้วยระบบปฏิบัติการอยู่ภายในหมวกเพื่อฝังภาพเสมือนจริงเข้าสู่สมองผู้สวมใส่ หน้าตามันเหมือนหมวกใส่กับรถจักรยานยนต์ที่ดูออกจะดุดันหน่อยๆ ประดิษฐ์โดยชายชื่อว่า คันซากิ (รับบทโดย มาซาโตชิ นางาเสะ)หมวกนี้ได้ดึงดูดให้ผู้สนใจเข้ามาชมมันมากมายหลักจากเขาประกาศสรรพคุณของมันออกไป ว่าสามารถทำให้ผู้สวมใส่มีความสุขตลอดโดยการลบความจำในอดีตได้ แม้ว่าผู้คนแถวนั้นจะคลางแคลงใจในตัวเขากับหมวกใบนั้นอยู่ หมวกใบนั้นก็สามารถพิสูจน์ให้ผู้คนเห็นว่ามันสามารถดึงเอาความทรงจำที่ชวนให้รำลึกถึงความหลังครั้งอดีตของผู้ใช้ออกมาได้ แม่ผู้มีลูกที่ไม่เอาไหน ได้ย้อนกลับไปเห็นวันที่ลูกลืมตาดูโลก หัวเราะคิกคักอยู่ในเปลนอนอีกครั้ง อิชิดะ ผู้ที่สวมหมวกและเห็นตัวเองกำลังตีโฮมรันได้จากเสียเชียร์ของแฟนคลับ ต่อมา คันซากิจึงได้ขึ้นชื่อว่าเป็นฮีโร่ที่มาช่วยฟื้นฟูบ้านเมืองให้มีชีวิตชีวาอีกครั้ง แต่ถึงอย่างนั้น คันซากิก็ยังเป็นตัวละครที่เข้าใจได้ยากอยู่ ชีวิตส่วนตัวและอดีตของเขายังคงเป็นความลับอยู่ แต่เมื่อเขาต้องมารักษาอิโนะอุเอะ นักโทษวัยรุ่นที่ถูกขังเดี่ยว ด้วยลักษณะท่าทางของเขา คันซากิก็ได้ขอเวลาส่วนตัวพูดคุยกับอิโนะอุเอะ หลังจากจุดนี้ไป หนังก็เริ่มดำดิ่งเข้าสู่ภายในชีวิตส่วนตัวของคันซากิ

แล้วมันเกี่ยวกับอะไรกันแน่?
แรงจูงใจในการสร้างหมวกใบนี้ของคันซากิ คงไม่ใช่ทำไปเพราะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมหรอก หนังเรื่องนี้จะสื่อให้เห็นว่าความสุขและความเศร้ามันคาบเกี่ยวกันยังไง และอธิบายว่าความทรงจำที่ขมขื่นที่สุดของคนๆหนึ่ง กลับกลายเป็นความทรงจำที่สุขที่สุดได้อย่างไร “แฮปปี้เนส” เป็นหนังที่จะสำรวจเข้าไปถึงความรุนแรงทางอารมณ์ การบาดเจ็บทางจิตใจ ความรู้สึกลึกลับที่ค่อยๆก่อตัวขึ้น การไร้อำนาจ (ความเชื่อของญี่ปุ่นดั้งเดิมที่ชื่อ โชอุกาไน แปลว่า ช่วยอะไรไม่ได้) เยาวชนที่ทำตัวไม่เหมาะสมและความขุ่นเคือง

แล้วมันดีรึเปล่า?
“แฮปปี้เนส” เกือบจะเป็นหนังที่ดูสนุก แต่ด้วยการที่มันชอบโยนฉากที่ดูแล้วอธิบายไม่ได้ว่ามันคืออะไรอยู่หลายครั้ง การปูตัวละครที่เนิบช้า กว่าจะเข้าสำรวจชีวิตส่วนตัวของตัวละคร ก็ปาเข้าไปใกล้จบแล้ว สิ่งเหล่านี้มันทำให้ผู้ชมไม่ได้รู้สึกเอาใจช่วยตัวละครในเรื่องเลย ดูหนังเรื่องนี้ให้ความรู้สึกเหมือนดูภาพวาดที่แห้งแล้ง แต่ในขณะเดียวกัน มันก็เหมือนกับเราได้อ่านนิยายฆาตรกรรมสืบสวนสอบสวนของอกาธา คริสตี้เรื่อง “ตายยกเกะ” กับนิยายเรื่อง “คดีฆ่าหั่นศพ Out” ของนัตซึโอะ คิริโนะ ที่ว่าด้วยหญิงวัยกลางคนทำการฝังเพื่อนร่วมงานที่ช่วยกันฆ่าสามีของเธอเอง นิยายเหล่านี้มันเต็มไปด้วยการหักมุมแบบ หักแล้วหักอีก หักแต่ละที เลือดออกซิบๆเป็นแถบ ฉะนั้น “แฮปปี้เนส” จึงเป็นหนังที่ให้ความรู้สึกก้ำกึ่งระหว่าง สนุกมากจนน่าติดตาม กับ น่าเบื่อหน่าย
จุดที่ผิดพลาดในการเล่าเรื่องก็ปราฏออกมาให้เห็นตั้งแต่ฉากแรกๆ ที่คันซากิเดินทอดน่องเข้าไปในร้านค้าที่ถูกทิ้งร้างและไปเห็นหญิงชรานั่งขดตัวอยู่ตรงหัวมุม เขาออกจากร้านนั้น และกลับมาใหม่พร้อมกับหมวกหวนไห้ถึงอดีตของเขา ซาบุ มือเขียนบท เขาทำให้ฉากนี้รู้สึกเหมือนกับว่า มันดูเร่งรีบไป ฉากแรกก็เผยให้เห็นหมวกนี่แล้วหรือ? ไม่มีที่มาที่ไปเกริ่นก่อนเลย มันถูกใส่เข้ามาในหนังอย่างกับนิยายไซไฟราคาถูก หญิงชราที่เศร้าโศกเหลือคณา ถูกจับเข้าเครื่องบรรเทาทุกข์ในรูปแบบของหมวกมหัศจรรย์อย่างทันทีทันใดแบบนี้หรือ? แล้วเธอก็กลับมาหัวเราะเคล้าน้ำตาได้อีกครั้ง มันดูหยาบคายและน่าอึดอัดใจอย่างบอกไม่ถูกเลย
ซาบุเลือกที่จะใช้ความเงียบมาแทนเป็นคำพูด กล้องแช่อยู่ที่หน้าของคันซากิ พยายามถ่ายทอดความเครียด ระส่ำระส่ายในใจออกมา แล้วก็ตัดกล้องไปสู่แผนการขั้นต่อไปของเขาอย่างรวดเร็ว แบบนี้มันก็ได้ผลอยู่บ้างในบางฉาก แต่ไม่ใช่ทุกฉาก เช่นเดียวกับการแช่กล้องให้เห็นการเดินขึ้นบันไดเป็นสิบๆขั้นของคันซากิ หรือเช่นเดียวกันกับการแช่กล้องไว้ที่หน้าคันซากิ เพื่อให้เห็นน้ำตาของเขาที่ไหลออกมาตอนที่เขาอยู่บนรถเมล์ ฉากเหล่านี้ดูแล้วให้ความรู้สึก ไม่จบไม่สิ้นสักที “แฮปปี้เนส” มีความยาวแค่ 91 นาที แต่ดูจริงกลับรู้สึกว่า มันยาวกว่านั้น
ช่วงที่ดีที่สุดในหนัง: คือช่วงที่ย้อนอดีตเพื่ออธิบายถึงแก่นของหนัง ฉากต่อสู้สุดเจ๋ง และฉากการประดิษฐ์หมวกของเขา เยี่ยมยอด! ด้วยความที่เป็นหนังทุนต่ำ ฉากพวกนี้จึงออกมาแค่ช่วงสั้นๆเพื่อกันงบบานปลาย

ควรจัดเรทที่เท่าไหร่ดี?
หนังเรื่องนี้ได้เรทอาร์จากฉากโหดที่โผล่มาแบบพร่ำเพรื่อ แต่ฉากพวกนั้นมีน้อยมากจนคิดว่า ถ้าไม่นับฉากโหดๆแล้ว ฉากที่เหลือทั้งเรื่อง ได้แค่เรทจีก็เพียงพอแล้ว

จะหาดูได้จากไหน?
“แฮปปี้เนส” ออกฉายที่ประเทศญี่ปุ่นในปี 2016 และฉายจำกัดโรงในอเมริกา

การให้ทิปในประเทศญี่ปุ่น

การให้ทิปกับพนักงานหรือบริการต่างๆในญี่ปุ่นนั้นอาจนำพาไปสู่สถานการณ์ที่น่าอึดอัดใจ หรือแย่กว่าไปกว่านั้น อาจถูกมองว่าเป็นการดูถูกได้ คิดซะว่าทุกราคาในญี่ปุ่นนั้นจะรวมค่าทิปพนักงานไว้แล้ว แต่มาในรูปแบบเซอร์วิสชาร์ท หรือค่าบริการแทน!

แต่มันก็ยังมีข้อยกเว้นอยู่บ้าง โดยเฉพาะชาวตะวันตกที่มาเที่ยวญี่ปุ่นและชอบให้ทิปในสถานที่ๆไม่ต้องให้อยู่ การให้ทิปจริงๆแล้วไม่ได้เป็นวัฒนธรรมของแถบเอเชียมาตั้งแต่แรก ในบางประเทศอย่างญี่ปุ่นที่เงินทิปนั้นเป็นสิ่งแปลกปลอม การให้ทิปที่ไม่ถูกที่ถูกทางอาจเป็นการพูดกลายๆว่า “กิจการที่นี่มันไม่เห็นจะได้เรื่องอะไรเท่าไหร่นักนะ เอ้านี่ เงินค่าตอบแทนพิเศษสักหน่อยเป็นไง”

กฎการไว้หน้าซึ่งกันและกันจึงเข้ามามีบทบาททันที ในบางสถานการณ์ พนักงานจะรับเงินทิปของคุณพร้อมกับรอยยิ้มเจื่อนๆเพื่อกลบเกลื่อนไม่ให้คุณรู้สึกอึดอัดใจแล้วก็คืนเงินทิปกลับมาให้คุณ ที่ทำเช่นนี้อาจเป็นเพราะพวกเขาอธิบายให้คุณฟังว่าทำไมถึงคืนเงินทิปของคุณด้วยภาษาอังกฤษไม่ค่อยจะคล่องเท่าไหร่

การให้ทิปกันในญี่ปุ่นด้วยเจตนาที่ไม่ดี หรือให้ผิดกาลเทศะ อาจเป็นที่หยาบคายและดูงี่เง่าก็เป็นได้ มีไม่กี่อย่างหรอกที่สามารถยกเว้นกันได้ในการให้ทิป (ตัวอย่างเช่น คุณอาจให้ “ของขวัญ” เล็กๆน้อยๆแก่เพื่อนของคุณ ถือเป็นค่าเหนื่อยหรือค่าชดเชยเวลาที่เพื่อนคุณทำอะไรบางอย่างให้คุณ เป็นต้น)

วิธีให้ทิปที่ถูกที่ควรกันในประเทศญี่ปุ่น

มีโอกาสไม่บ่อยนักจะสามารถให้ทิปได้อย่างไม่น่าเกลียด ถ้ามี ก็ควรให้โดยเอาเงินทิปใส่ไว้ในซองที่ตกแต่งสวยงาม มีรสนิยม แล้วก็ปิดผนึกมัน เงินทิปนี้ก็จะแทนตัวแทนว่าเป็นของขวัญมากกว่าที่จะเป็นแค่เงินค่าตอบแทนเพิ่มเติมสำหรับบริการต่างๆ ที่คุณไปใช้ ยื่นซองให้พนักงานโดยจับด้วยมือทั้งสองข้างแล้วโค้งคำนับเล็กน้อย

ถ้าหากผู้รับโค้งคำนับแสดงความขอบคุณ ให้คุณโค้งคำนับเขาตอบให้เหมาะให้ควร

อย่าไปคาดหวังว่าพวกเขาจะเปิดซองของคุณในทันที พวกเขาจะเก็บไว้ข้างๆตัวแล้วจะติดต่อคุณกลับไปเพื่อแสดงคำขอบคุณ การให้ของขวัญตามด้วยมารยาทงามๆจะช่วยให้ทั้งผู้ให้และผู้รับไม่รู้สึกอายขายหน้าแต่อย่างใด
เตือนความจำ: การหยิบเงินออกมาจากกระเป๋าของคุณต่อหน้าผู้รับเงินคุณป็นสิ่งที่แย่มากในการทำธุรกรรมใดๆก็ตาม
การให้ทิปกับพนักงานตามโรงแรม

แม้ว่าตามโรงแรมห้าดาวบางแห่งจะถือว่าการให้ทิปเป็นเรื่องที่รับได้ก็ตามที แต่พนักงานโรงแรมส่วนใหญ่ที่คุณพบเจอจะได้รับการฝึกปฏิเสธเงินทิปของลูกค้าอย่างสุภาพ อย่าไปยัดเยียดเงินทิปให้แก่พวกเขานัก เพราะมันอาจเป็นเรื่องต้องห้ามและส่งผลต่อการจ้างงานของพวกเขาได้

เหตุใดการให้ทิปในแถบเอเชียถึงไม่ใช่ความคิดที่ดีนัก?
ด้วยข้อยกเว้นบางประการ เช่นในฟิลิปปินส์ ประเทศแถบเอเชียไม่มีการวัฒนธรรมหรือประวัติการให้ทิปมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว อันที่จริง การให้ทิปแก่ใครสักคนนั้น คือการบอกเป็นนัยๆว่าคุณไม่คิดว่าค่าเหนื่อยของพวกเขาคุ้มกับงานที่พวกเขาทำ บางคราว พนักงานบางที่อาจจะถึงขั้นวิ่งตามหาคุณอย่างตื่นตระหนกเพียงเพื่อจะเอาเงินที่คุณทิปให้พวกเขาคืนคุณ เขาคิดว่าคุณเผลอเรอ ลืมเงินทิ้งไว้ที่โต๊ะแทน

แม้ว่าค่าจ้างจะต่ำเตี้ยเรี่ยดิน ซึ่งสวนทางกับเวลาทำงานที่ยาวนานไม่คุ้มเหนื่อยเมื่อเทียบกับประเทศของคุณก็ตามที การทิ้งร่องรอยให้เกิด วัฒนธรรมกลายพันธุ์ ในต่างแดนก็ไม่ใช่ความคิดที่ดีนัก ทิ้งรอยเท้าไว้ให้น้อยที่สุดเท่าที่ทำได้ การทำความเข้าใจผลกระทบที่เกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจแล้ววัฒนธรรมนั้นเป็นเรื่องที่ยากเอาการอยู่เหมือนกัน

การที่นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกชอบให้ทิปและคิดแค่ว่าอยากช่วยนั้น อาจทำให้พนักงานเคยตัว และรอรับเงินทิปที่มากขึ้น บ่อยขึ้น

นายจ้างบางกลุ่มจึงขอให้พวกเขาคืนเงินทิปแก่ลูกค้า บางคนถึงขั้นขู่ว่าจะตัดเงินเดือนพนักงาน เพราะพวกเขาคิดว่าพนักงานจะปฏิบัติงานแบบสองมาตรฐาน ขึ้นอยู่กับความมากน้อยของทิป เช่นลูกค้าขาประจำที่เป็นคนในพื้นที่และไม่ค่อยจะให้ทิป อาจจะถูกปฏิบัติไม่เท่าทียมกับลูกค้าที่ทิปหนักก็เป็นได้ หรือถึงขั้นพนักงานยอมรอรับรองแขกที่มีแนวโน้มว่าจะทิ้งเงินทิปไว้ให้มากกว่าลูกค้าปกติเสียด้วยซ้ำ

การปัดเงินขึ้นเป็นจำนวนเต็มก่อนจ่ายให้กับคนขับรถนั้นถือเป็นเรื่องปกติทั่วไปในแถบเอเชีย ทำให้สะดวกขึ้น ไม่ต้องให้คนขับรถคอยควานหาเงินทอนให้คุณเสียเวลา การให้ทิปถือว่าเป็นการจ่ายค้าจ้างในโอกาสพิเศษอย่างหนึ่ง เช่นการให้ทิปแก่ไกด์นำทางตอนคุณขึ้นเขาในประเทศเนปาล เป็นต้น

ถ้ามีข้อสงสัยเรื่องการให้ทิปนี้ ให้คุณลองตรวจดูในบิลรายการก่อนจ่ายเงินว่าเขาได้ใส่ค่าบริการ (service charge) ลงไปแล้วหรือยัง ในบางที่ เขาอาจจะเก็บค่าบริการประมาณ 10-15%
คุณก็ยังวางเงินทิปไว้บนโต๊ะได้อยู่ แต่ก็ไม่รับประกันนะว่า เงินนั้นจะลงไปอยู่ในกระเป๋ากางเกงถูกคนหรือเปล่า

10 ธรรมเนียมที่ควรรู้ก่อนไปเที่ยวญี่ปุ่น

1.การเรียกชื่อผู้อื่นด้วยความเคารพ
การโค้งคำนับเปรียบได้กับศิลปะชนิดหนึ่งของญี่ปุ่น เด็กๆชาวญี่ปุ่นจะได้รับการปลูกฝังเรื่องการเคารพนี้ตั้งแต่ก่อนที่พวกเขาจะเข้าโรงเรียน แต่สำหรับนักท่องเที่ยวทั่วไปแล้ว แค่โน้มหัวลงเล็กน้อยหรือโค้งคำนับถึงช่วงเอวก็เพียง
พอแล้ว
ระยะยเวลาในการค้างอยู่ที่ท่าโค้งคำนับนั้นจะขึ้นอยู่กับระดับสัดส่วน ความสูงของผู้ที่คุณกำลังทักทายด้วยเช่นกัน เช่น การทักทายกับเพื่อนฝูง ก็จะโค้งให้กันอย่างรวดเร็ว โน้มตัวลงมาประมาณ 30 องศาก็พอ ส่วนการทักทายกับคนที่ตำแหน่งงานสูงกว่าคุณ หรืออาวุโสกว่า การโค้งคำนับก็อาจจะค้างนานขึ้นมานิดหน่อย พร้อมทั้งโน้มตัวลงมาต่ำลงกว่าที่คุณทักทายเพื่อน ประมาณ 70 องศาด้วย แต่ทั้งหมดนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและตำแหน่งทางสังคมด้วย
เพิ่มเติมในส่วนของเรื่องโค้งคำนับ การเรียกชื่อผู้อื่นก็เป็นสิ่งสำคัญด้วย อย่างคุณเรียก “ดร. สมิธ” ว่า “สมิธ” เฉยๆอาจเป็นการไม่สุภาพและสื่อไปในเชิงดูหมิ่น ในฝั่งประเทศญี่ปุ่นก็ถือเป็นการไม่ให้ความเคารพเช่นกัน ถ้าคุณไม่ได้ลงท้ายว่า “ซัง” หรือ “ซามะ” ตามหลังนามสกุลของพวกเขา
โดยปกติแล้ว การเรียกเด็กๆสามารถเรียกแค่ชื่อของพวกเขาได้เลย แต่คุณสามารถลงท้ายตามหลังชื่อของเด็กๆว่า “จัง” สำหรับเด็กผู้หญิง และ “คุง” สำหรับเด็กผู้ชายได้เช่นกัน

2.มารยาทบนโต๊ะอาหาร
อธิบายาเป็นข้อๆได้ดังนี้
เมื่อคุณอยู่ในงานปาร์ตี้มื้อค่ำงานหนึ่งแล้วมีคนยื่นเครื่องดื่มให้ ให้คุณหยุดคอยสักครู่ก่อน รอให้เครื่องดื่มเสิร์ฟครบหมดทั้งโต๊ะ แล้วจะมีคนกล่าวนำ ยกแก้วขึ้นพร้อมกล่าวคำว่า “คัมปาย” (ดื่ม) แล้วจึงดื่ม
แทบทุกร้านอาหารในญี่ปุ่นจะมีการแจกผ้าให้แก่ลูกค้า เพื่อใช้เช็ดมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร เมื่อเช็ดเสร็จแล้ว ให้คุณค่อยๆม้วนเก็บผ้าและวางไว้บนโต๊ะ อย่าใช้ผ้านี้เป็นผ้าสำหรับเช็ดปาก หรือเช็ดหน้า
การดูดเส้นก๋วยเตี๋ยวดังๆนั้นเป็นเรื่องที่ดี! อันที่จริงแล้ว การดูดเส้นก๋วยเตี๋ยวหรือเส้นราเมนดังๆนั้นถือเป็นการแสดงให้เห็นว่า คุณเอร็ดอร่อยกับอาหารมื้อนั้น ซี่งถือเป็นเรื่องสุภาพทั่วไป
คุณสามารถยกชามขึ้นมาไว้ตรงปากแล้วใช้ตะเกียบโกยอาหารเข้าปากได้ เพื่อให้ง่ายต่อการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะการรับประทานข้าวในชาม
ก่อนที่จะอิ่มหนำกับมื้ออาหาร ไม่ว่าจะเป็นมื้ออาหารแบบฟูลคอร์ส หรืออาหารกล่องตามซูเปอร์แล้วนั้น คุณควรจะพูดว่า “อิทาดาคิมัส” (ทานแล้วนะครับ/ค่ะ) ก่อนทุกครั้งเพื่อความสุภาพ

3.ไม่ควรให้ทิปแก่พนักงาน
ในญี่ปุ่นจะไม่มีธรรมเนียมการให้ทิปแก่พนักงานไม่ว่าจะกรณีใดๆ ไม่ว่าจะเป็นแท็กซี่ ร้านอาหาร หรือการบริการอื่นๆ ในญี่ปุ่นเขาถือกันว่า การให้ทิปเท่ากับเป็นการดูถูก เพราะเขาคิดว่า บริการที่คุณได้รับนั้น เหมาะสมกับราคาที่เขาตั้งมาไว้แล้ว เพียงพอแล้ว ทำไมต้องจ่ายเพิ่มด้วย?
ถ้าคุณอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ๆ เช่นโตเกียว และคุณพูดภาษาญี่ปุ่นไม่ได้ บริกรหญิงหรือชายจะรับเงินทิปของคุณที่คุณทิ้งไว้ให้มากกว่าจะอธิบายถึงเหตุผลว่าทำไมประเทศญี่ปุ่นถึงไม่นิยมรับเงินทิปแทน แถมพวกเขายังพูดภาษาอังกฤษไม่ค่อยคล่องอีกด้วย
จำไว้ติดตัวเสมอว่า: ราคาไหน ราคานั้น

4.เรื่องของตะเกียบ
คุณอาจจำเป็นต้องใช้ตะเกียบ แต่ก็ขึ้นอยู่กับร้านอาหารมื้อค่ำที่คุณเลือกใช้บริการด้วย ถ้าหากคุณไม่เคยใช้ตะเกียบมาก่อน ไม่ชำนาญกับการใช้ตะเกียบ พยายามศึกษา เรียนรู้และฝึกใช้ตะเกียบก่อนผ่านเข้าด่านตรวจคนเข้าเมืองจะเป็นการดี และมันไมได้ยากเย็นอะไรเลย
สมมติฐานผิดๆอย่างหนึ่งในหมู่ชาวญี่ปุ่นที่ค่อยๆเลือนหายไปตามกาลเวลานั่นคือ “ความเป็นเอกลักษณ์” ของญี่ปุ่น จำพวก “ญี่ปุ่นเป็นประเทศหมู่เกาะ, ญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวที่มีสี่ฤดู, ชาวต่างชาติไม่มีทางเข้าใจประเทศญี่ปุ่นอย่างแท้จริง, มีแต่คนญี่ปุ่นเท่านั้นที่สามารถใช้ตะเกียบได้อย่างถูกต้อง” เป็นต้น
นับครั้งไม่ถ้วนเลยที่มีคนมาเล่าให้ผมฟังว่า ผมใช้ตะเกียบได้เก่งกาจและสง่างาม ทั้งๆที่ผมเคยเห็นเด็กสามขวบใช้ตะเกียบได้เก่งพอกัน ถ้าคุณได้ร่วมโต๊ะกับคนญี่ปุ่นแล้ว อย่าได้แปลกใจถ้าหากพวกเขาส่งสายตาประหลาดใจใส่คุณที่เห็นคุณรับประทานอาหารราวกับคนญี่ปุ่นมาเอง

5.ซุ้มประตู
ควรถอดรองเท้าออกก่อนที่คุณจะก้าวเข้าบ้านทุกหลัง รวมถึงโรงแรมและตึกสำนักงานต่างๆด้วย โดยปกติแล้วเขาจะมีชั้นวางรองเท้าไว้ให้คุณเก็บรองเท้าของตัวเอง เพื่อเปลี่ยนไปสวมรองเท้าแตะสำหรับแขกซึ่งวางไว้ข้างๆกัน คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะนำรองเท้าแตะมาเผื่อเปลี่ยนเวลาต้องเข้าอาคารด้วย
ห้ามสวมรองเท้าแตะเวลาที่คุณจะขึ้นไปบนเสื่อทาทามิ (นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในโรงแรมญี่ปุ่น หรือตามที่พักอาศัย) และระวังเวลาสับเปลี่ยนระหว่างรองเท้าแตะกับรองเท้าสำหรับเข้าห้องน้ำด้วย
การสวมใส่รองเท้าแตะที่เปื้อนเสื่อน้ำมัน แล้วเดินกลับเข้ามาภายในห้องรับแขกของบ้านถือเป็นเรื่องที่แย่มากเช่นกัน

6.หน้ากาก
โรคซาร์สได้หยุดแพร่ระบาดไปนานแล้ว กระนั้นผมก็ยังพบเห็น “ชุดเตรียมการรับมือโรคซาร์ส” ระหว่างที่ผมพักฟื้นอยู่ในโรงพยาบาลที่ญี่ปุ่นอยู่ อย่างไรก็ตาม หน้ากากอนามัย แบบเดียวกับที่คุณพบเห็นบ่อยๆแถวห้องฉุกเฉินนั้น ก็ยังเป็นที่นิยมในหมู่มนุษย์เงินเดือนในญี่ปุ่นอยู่ เพื่อป้องกันผู้อื่นจากการแพร่เชื้อโรคของตนเอง
ค่อนข้างสมเหตุสมผลอยู่เมื่อมาลองคิดดู หน้ากากพวกนี้ไม่ได้ป้องกันผู้สวมใส่เท่าที่คนที่อยู่รอบตัวเขาเท่าไหร่นัก สาเหตุอาจเป็นอะไรก็ได้ไล่ตั้งแต่ไข้หวัดธรรมดาๆ ไปจนถึงกังวลที่จะเปิดเผยหน้าตาแก่สาธารณชน อย่าให้เรื่องพรรค์นี้มากวนใจคุณระหว่างทริปเที่ยวญี่ปุ่นของคุณเลย

7.การปรับตัว
เมื่อสอบถามกลุ่มนักเรียนมัธยมในญี่ปุ่นว่า ภัยอันตรายแบบใดที่เด็กๆกำกลังเผชิญหน้าอยู่ในทุกวัน กลุ่มนักเรียนได้ตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า สิ่งที่พวกเขาถือเป็นภัยคุมคามอันดับหนึ่งนั่นคือ: การปลีกวิเวก
สังคมของคนญี่ปุ่นจะเน้นไปที่การเข้าสังคม การจับกลุ่มกัน ส่วนวัฒนธรรมของคนตะวันตกจะเป็นส่วนบุคคลมากกว่า นี่ก็หมายความว่า คนญี่ปุ่นเปรียบได้ไม่ต่างอะไรกับผึ้งงานที่ทำงานอยู่ในรังผึ้งที่ทำจากคอนกรีตขนาดใหญ่ใช่ไหม? ไม่ใช่แน่นอน แต่การแสดงออกของพวกเขาต่อใครคนใดคนหนึ่งจะมีการคำนวณอย่างรอบคอบก่อนที่จะแสดงอะไรออกไปตลอด
การทำอะไรที่เป็นการดึงดูดความสนใจเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเลย จามในที่สาธารณะก็ไม่ควร หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเดินไปกินไปเสีย และห้ามคุยโทรศัพท์มือถือในที่แออัดเช่น บนรถไฟ ในลิฟต์ หรือบนรถเมล์เป็นต้น ปัญหาหลักคือ ชาวต่างชาติไม่สามารถขยับไปไหนได้ เราต้องยืนติดกันเป็นปลากระป๋องแทบทุกที่ ไม่ว่าเราจะอยู่ที่นี่มานานเท่าไหร่ หรือคุ้นเคยกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นมานานแค่ไหนแล้วก็ตาม
สรุปแล้ว การมาอยู่ในประเทศญี่ปุ่น สำหรับชาวต่างชาติแล้ว คุณจะได้รับประสบการณ์ที่แปลกตา คุณจะถูกจ้องมอง ตะโกนเรียกความสนใจ ขอถ่ายรูปและขอลายเซ็น (ผมโดนมาแล้วแถวหมู่เกาะทางภาคใต้)

8.การอาบน้ำ
โรงอาบน้ำสาธารณะยังมีอยู่และเป็นที่นิยมในประเทศญี่ปุ่น เซนโต หรือโรงอาบน้ำสาธารณะ พบเห็นได้ทั่วไปตั้งแต่เขตเมืองใหญ่ในชินจูกุ จนไปถึงแถบเมืองเล็กๆบนเกาะชิโกกุ
ออนเซ็น หรือบ่อน้ำพุร้อน ก็เป็นที่นิยมมากตามรีสอร์ทอีกเช่นกัน โรงอาบน้ำญี่ปุ่นจะเป็นที่ให้ผู้คนเข้ามาแช่น้ำร้อนกันสัก 10,20,30 นาที หลังจากที่คุณชำระล้างร่างกายแล้ว ซึ่งแตกต่างกับวัฒนธรรมของชาวตะวันตก ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น
ถ้าคุณได้รับเชิญให้ไปที่บ้านของชาวญี่ปุ่น คุณจะได้รับเกียรติให้ใช้บ่อน้ำ อาบน้ำเป็นคนแรก ก่อนที่มื้อเย็นจะเริ่ม ระวังอย่าทำน้ำสกปรกเป็นดี อย่างไรก็ตาม ความศักดิ์สิทธิ์ของ โอฟุโร (การอาบน้ำ) ถือเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด
ถ้ามีโอกาส ก็อยากให้ลองแวะไปเยี่ยม เซนโต โรงอาบน้ำนี้ถือเป็นสถานที่ที่ไร้สิ่งขวางกั้น ไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติ สีผิว อายุ หรือภาษา แต่ก็ ยังมีการแบ่งแยกเพศชาย-หญิงอยู่เหมือนเดิม แหงล่ะ การทอดตัวลงในอ่างน้ำร้อนแล้วเงี่ยหูฟังเสียงหัวใจเต้นของผมเองถือเป็นช่วงเวลาที่ผมรู้สึกได้ใกล้ชิดกับวัฒนธรรมญี่ปุ่นมากที่สุด

9.พูดภาษาอังกฤษ
คนญี่ปุ่นทุกคนจะเหมารวมชาวต่างชาติทุกคนว่าเป็นชาวอังกฤษ พูดกาษาอังกฤษหมด เว้นแต่คุณจะแสดงให้พวกเขาเห็นว่าไม่ใช่ ในช่วงที่คุณเที่ยวอยู่นั้น คุณจะพบกับ
กลุ่มเด็กนักเรียนในชุดเครื่องแบบสุดเรียบร้อย เดินข้ามสี่แยก ตะโกน “เฮลโล เฮลโล” ใส่คุณ เป็นการบอกนัยๆว่าคุณคือชาวต่างชาติสำหรับพวกเขา
ผู้คนทั่วไปเดินเข้ามาหาคุณแล้วถามว่า Where are you from? (คุณมาจากไหน?)
ดูเป็นมิตรใช่ไหม? แน่ล่ะ แต่ผมสังเกตเห็นได้เลย ว่าพวกเขาจะแสดงสีหน้าสับสน และหงุดหงิดมากถ้านักเดินทางกลุ่มนั้นไม่พูดภาษาอังกฤษ
แม้ว่าคุณจะพอพูดภาษญี่ปุ่นได้บ้าง หรือพูดได้คล่องแคล่วเลยก็เถอะ ภาษาทางเลือกที่ดีที่สุดก็ยังคงเป็นภาษาอังกฤษ คนญี่ปุ่นหลายคนยืนกรานที่จะใช้ความสามารถทางภาษาอังกฤษของพวกเขาเอง พูดกับพวกเราที่เป็นคนต่างชาติ ถึงแม้คนต่างชาติที่พวกเขาพูดด้วยจะพูดญี่ปุ่นคล่องมากก็ตาม

10.ความปลอดภัย
คนญี่ปุ่นทุกคนที่ผมพานพบจะชอบเตือนผมเรื่องความปลอดภัยในการเดินทาง เช่นเตือนให้ผมระวังเรื่องสิ่งของมีค่า เป็นต้น แต่กับชาวต่างชาติด้วยเขาจะพูดว่า ไม่ต้องเป็นห่วง ไม่มีอะไรผิดพลาดหรอก ไม่โดนขโมยหรอก ทั้งหมดนี้อาจจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคนที่พบเจอมา แต่ปัญหาอื่นนี่สิ
ความกลัวในเรื่องอาชญากรรมในญี่ปุ่นนั้นสูงมาก โดยเฉพาะในหมู่พลเมืองชาวญี่ปุ่น
มีการฆาตรกรรมกัน ย้ำอีกที ยังมีการฆาตรกรรมกันอยู่ ผู้คนถูกทำร้าย ถูกจี้ปล้น ถูกประทุษร้าย ถูกข่มขืน ถูกซ้อม และถูกฉ้อโกง สิ่งเหล่านี้ยังมีให้เห็นอยู่ในญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตาม อัตราการเกิดอาชญากรรมในญี่ปุ่นก็ยังอยู่ในระดับต่ำ เห็นได้ชัดเลยเมื่อคุณเห็นนักธุรกิจที่พลาดรถไฟขากลับของพวกเขา นอนหลับอยู่บนม้านั่งยาวในสวนสาธารณะ หรือกลุ่มเด็กๆอายุประมาณห้าขวบพากันเดินร่วมกิโลเพื่อไปให้ทันโรงเรียนเข้า เป็นต้น