10 เคล็ดลับในการเรียนภาษาญี่ปุ่น

คำถามที่เป็นที่นิยมกันมากที่สุดเลยคือ “ฉันอยากเรียนภาษาญี่ปุ่น แต่ฉันจะเริ่มจากตรงไหนดีล่ะ?” คำถามต่อไปที่ถามกันมาเยอะไม่แพ้กันคือ “ฉันเจอกับตอใหญ่เบ้อเริ่มของการเรียนภาษาญี่ปุ่นเข้าแล้ว และดูเหมือนทักษะของฉันจะไม่พัฒนามากไปกว่านี้แล้วล่ะ ฉันควรทำอย่างไรดี ???”

เอาล่ะ ถ้าคุณเพิ่งเริ่มต้น หรือเริ่มไปได้หน่อยนึงแล้ว แล้วเกิดเจอทางตัน รายการพอดแคสต์นี้คือคำตอบสำหรับคุณ อาซุกะและผมระดมหัวคิดกันและเกิดแนวคิด 10 เคล็ดลับในการเรียนภาษาญี่ปุ่นแบบก้าวกระโดดและมีประสิทธิภาพ และผมก็อยากให้รายการพอดแคสต์นี้จี้จุดที่ว่า ไม่มีเวทมนตร์พิเศษอะไรใดๆบนโลกใบนี้ ที่จะทำให้คุณเก่งภาษาญี่ปุ่นภายในข้ามคืน

แทนที่จะทำอย่างนั้น รายการนี้จะสำรวจว่า “ทำไม” หรือ “แรงบันดาลใจ” อะไรที่ทำให้คุณอยากเรียนภาษาญี่ปุ่นมากกว่า หลังจากนั้น คุณก็จะมุ่งเป้าไปที่เป้าหมายเดียวของการเรียนภาษานี้ของคุณได้ พอเป็นอย่างนั้นแล้ว คุณจะได้ไม่ต้องมามัวเสียเวลาไปกับหัวเรื่องที่มีแต่น้ำ ไม่มีเนื้อและประหยัดเวลาของคุณไปได้เยอะทีเดียว
ฉะนั้นแล้ว ลองมาฟังพอดแคสต์นี้ดู และรายละเอียดทั้งหมดจะอยู่ด้านล่าง

บทพูดในพอดแคสต์
ภาษาญี่ปุ่น
การออกเสียง
คำแปลภาษาอังกฤษ
อาซุกะ:
おはようございます
โอฮาโยะ โกไซมัส
Good morning
อเล็กซ์:
おはようございます
โอฮาโยะ โกไซมัส
Good morning
อาซุกะ:
昨日のパーティー楽しかったですね
คีโน โนะ พาติ ทาโนะชิคัตตะ เดส เน่
Yesterday’s party was fun
อเล็กซ์:
楽しかったですね
ทาโนะชิคัตตะ เดส เน่
It was fun wasn’t it?
อาซุกะ:
またやりましょう
มาตะ ยาริมะโช
Let’s do it again
อเล็กซ์:
ぜひ!
เซย์ หิ
Absolutely!

10 เคล็ดลับในการเรียนภาษาญี่ปุ่น
เคล็ดลับที่ 1 – ตั้งเป้าหมายให้แน่ชัด

เคล็ดลับนี้ใครๆก็รู้กัน ก่อนที่คุณจะเริ่มทำอะไรสักอย่าง การตั้งเป้าหมายให้แน่ชัดก็เป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะเดดไลน์ จะช่วยให้คุณมุ่งมั่นกับการเรียนมากขึ้น ถ้าเป้าหมายคุณยังชัดไม่พอ ลองถามตัวเองดูว่า “คุณอยากเรียนภาษาญี่ปุ่นไปเพื่ออะไร?”

คุณอยากไปเที่ยวญี่ปุ่นในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ไหม? คุณอยากอ่านการ์ตูนมังงะแบบเข้าใจทุกตัวอักษรเลยไหม? หรือบางที คุณอยากจะเป็นนินจากันนะ การกำหนดเป้าหมายในการเรียนของคุณก็จะชัดขึ้น ขึ้นอยู่กับคำตอบของคำถามข้างต้น

สิ่งเหล่านั้นอาจเป็นเรื่องที่ใครๆก็อยากเป็นกัน แต่มันก็ยังน่ากล่าวถึงอยู่ดี แต่ยังมีอีกหนึ่งเหตุผลที่คุณควรจะมีเป้าหมายที่ชัดเจนอยู่อีกหนึ่งอย่างที่บางครั้งผู้คนอาจจะหลงลืมมันไป

และนั่นก็คือ การตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนเข้าไว้จะช่วยให้คุณไม่ต้องไปเสียเวลาเรียนในเรื่องที่คุณไม่จำเป็นต้องรู้ ถ้าเป้าหมายของคุณคือการได้ไปเที่ยวญี่ปุ่นในวันหยุดสักอาทิตย์หนึ่ง อย่างนั้นคุณก็แค่เรียนรู้ประโยคพื้นฐานๆสักสามสี่ประโยคไว้สำหรับจองตั๋ว ถามทางหรือตอนจับจ่ายใช้สอยก็พอแล้ว คุณไม่จำเป็นต้องไปนั่งจำ นั่งเรียนตัวคันจิที่มีกว่า 2,500 ตัวจากตำราเก่าคร่ำครึนั่นเลย

เอาล่ะ คุณอยากเรียนภาษาญี่ปุ่นไปเพื่ออะไร? ลองคิดคำตอบและทิ้งไว้ที่กล่องข้อคิดเห็นด้านล่างได้เลย

ไปเคล็ดลับต่อไปเลยดีกว่า

เคล็ดลับที่ 2 – เรียนรู้การทักทายในชีวิตประจำวัน
สำหรับผู้ที่อยากไปเที่ยวญี่ปุ่น ไปทำงานที่ญี่ปุ่นและสามารถสนทนาภาษาญี่ปุ่นได้นั้น การเรียนบทพูดที่จำเป็นในชีวิตประจำวันถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีมาก คุณควรรู้การทักทายที่แตกต่างกันไปตามเวลา การถามคำถามผู้คนและการพูดขอร้องและขอบคุณ
ตัวอย่างเช่น:

おはようございます – โอฮาโยะ โกไซมัส – อรุณสวัสดิ์
こんにちは – คนนิจิวะ – สวัสดี (ใช้ระหว่างวัน)
こんばんは – คมบังวะ – สายัณสวัสดิ์
お元気ですか – โอเก็งคิ เดส ก๊ะ – คุณสบายดีไหม?
元気です – ฉันสบายดี
お願いします – โอเนะไก ชิมัส – ได้ไหมครับ/ค่ะ (คุณช่วยอะไรฉันหน่อยได้ไหมครับ/ค่ะ?)
ありがとうございます – อาริกาโตะ โกไซมัส – ขอบคุณครับ/ค่ะ
どういたしまして – โด อิทาชิ มาชิเต – ไม่เป็นไรครับ/ค่ะ

เคล็ดลับที่ 3 – เรียนรู้ประโยคที่แปลออกมาเป็นภาษาอังกฤษได้ค่อนข้างยาก
หลังจากเรียนรู้พื้นฐานการกล่าวทักทายในชีวิตประจำวันไปแล้ว คุณก็ควรเรียนรู้ประโยคที่แปลเป็นภาษาอังกฤษได้ค่อนข้างยากกันสักหน่อย กล่าวอีกนัยหนึ่ง เรียนรู้ประโยคที่จะพาคุณให้ลึกลงไปสู่วัฒนธรรมญี่ปุ่นให้มากขึ้น นี่ยังช่วยให้คุณหยุดการแปลงคำจากภาษาแม่ของคุณ ไปเป็นภาษาญี่ปุ่นในหัวได้ดี ซึ่งมันเสียเวลาและทำให้คุณดูไม่เป็นธรรมชาติ นี่ตัวอย่างเล็กๆน้อยๆ

お先に失礼します – โอซากิ นิ ชิซึเรย์ ชิมัตสุ
แปลได้ประมาณว่า “ขอตัวก่อนนะ” คุณพูดประโยคนี้ก็ต่อเมื่อคุณออกจากที่ทำงานเป็นคนแรกหรืออกจากห้องในระหว่างการประชุม
お疲れ様です – โอตสุกาเระ ซามะ
แปลได้ประมาณว่า “เหนื่อหน่อยนะ” ใช้กันในหลากหลายสถานการณ์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ความหมายของมันจะประมาณว่า เยี่ยมมาก ทำได้ดี คุณจะใช้ประโยคนี้เมื่อคุณต้องการจะแสดงความยินดีใครสักคน หรือขอบคุณใครสักคนหลังจากที่คนๆนั้น ทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับการทำงานบางอย่าง มันยังสามาถใช้ในกรณีที่ใครบางคนทำงานเสร็จแล้ว และเตรียมจะกลับบ้านได้อีกด้วย
คุณจะได้ยินสองประโยคสุดท้ายนี้พร้อมกัน แบบนี้
A: お先に失礼します – เอาล่ะ ขอตัวกลับก่อนนะ (ขออนุญาตก่อนกลับ)
B: お疲れ様です – บาย (เยี่ยมเลย)

これからよろしくお願いします – โคเร คารา โยโรชิกุ โอเนไกชิมัส
คำว่า “โยโรชิกุ” หมายความว่าดูแลฉันให้ดีหน่อยนะ ดังนั้น ประโยคนี้ทั้งประโยคอาจแปลได้ว่า “ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วย” หรือ “หวังว่าเราจะได้ร่วมงานกันในอนาคตนะ” นิยมใช้ปิดท้ายประโยคแนะนำตัว
いただきます – อิทาดาคิมัส
ความหมายที่ใกล้เคียงที่สุดคงเป็น “เจริญอาหารนะ” โดยปกติ คุณจะพูดคำนี้ก่อนรับประทานอาหารที่บ้าน หรือมีคนทำให้คุณทาน อิทาดาคิมัส แปลว่า “รับแล้วนะครับ” มันสามารถใช้พูดกับอย่างอื่นก็ได้ที่ไม่ใช่เกี่ยวกับอาหาร แต่พนัน 9 เต็ม 10 ได้เลยว่า คุณจะได้ยินคนพูดคำนี้ก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง
ごちそうさまです – โกจิโสะ ซามะ เดส
แปลได้ประมาณว่า “อร่อยมากเลย” ประโยคนี้คุณพูดหลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้ว และเพื่อแสดงคำขอบคุณแก่ผู้ที่ทำอาหารให้คุณทาน
ประโยคข้างต้นทั้งหมดนี้จะสอนให้คุณรู้จัก เข้าใจถึงวัฒนธรรมอันมีค่าของญี่ปุ่นและให้คุณได้ลิ้มลองวิถีที่คนญี่ปุ่นทักทายซึ่งกันและกัน นี่ยังไม่หมดนะแต่ก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีกับประโยคที่เราคัดมาวันนี้

เคล็ดลับที่ 4 – แนวทางการพูดขั้นพื้นฐาน
ถ้าคุณซึมซับบทเรียนที่กล่าวไปในวันนี้ได้เพียงอย่างเดียว ลองนี่ดู ซ้อม ซ้อม และซ้อมหลักการพูดอย่างง่ายให้เข้าใจ วิธีนี้เพียงวิธีเดียว อาจเป็นวิธีที่ผมใช้ฝึกพูดภาษาญี่ปุ่นให้คล่องและเกิดประสิทธิภาพมากที่สุดก็เป็นได้ มันอาจจะไม่ได้เป็นอะไรใหม่ แต่มันก็ได้ผลอยู่นะ แค่คุณลองทำมันดู
มันง่ายแสนง่าย แค่เลือกประโยคมาหนึ่งประโยค แล้วซ้อมพูดซ้ำไปซ้ำมา ซ้ำไปซ้ำมาพร้อมทั้งเปลี่ยนคำบางคำในประโยคที่พูดไปด้วยทุกครั้ง ด้วยวิธีนี้ คุณจะพูดประโยคนั้นๆได้โดยไม่ต้องหยุดคิดเลย และยังช่วยขยายคลังคำศัพท์ให้คุณในเวลาเดียวกันด้วย
เพื่อเป็นตัวอย่าง ลองพูดคำว่า “…อยู่ที่ไหน” กลับไปกลับมาเป็นภาษาญี่ปุ่น ซึ่งพูดว่า “…はどこですか” (…วา โดโก๊ะ เดส ก๊ะ)
ทีนี้ ลองพูดซ้ำไปมาพร้อมเปลี่ยนคำในประโยคด้วยทุกครั้ง
銀行はどこですか? กิงโกะ วา โดโก๊ะ เดส ก๊ะ – ธนาคารอยู่ที่ไหน?
郵便局はどこですか? ยูบิงเคียวคุ วา โดโก๊ะ เดส ก๊ะ – ที่ทำการไปรษณีย์อยู่ที่ไหน?
駅はどこですか? เอกิ วา โดโก๊ะ เดส ก๊ะ – สถานีรถไฟอยู่ที่ไหน?
コンビニはどこですか? คมบินิ วา โดโก๊ะ เดส ก๊ะ – ร้านสะดวกซื้ออยู่ที่ไหน?
ガンダムはどこですか? กังดามุ วา โดโก๊ะ เดสก๊ะ – กันดัมอยู่ที่ไหน?
นั่นล่ะ คุณต้องฝึกมัน! คุณสามารถพูดประโยคพวกนี้ซ้ำไปซ้ำมาได้ในตำราเรียนที่คุณกำลังเรียนอยู่ ในหนังสือการ์ตูนมังงะ หรือลงเรียนภาษาญี่ปุ่นพอดแคสต์ ที่ซึ่งคุณจะเจอพอดแคสต์ของพวกเราเอง

เคล็ดลับที่ 5 – รู้จักคำคุณศัพท์ในภาษาญี่ปุ่น
มีอีกทางหนึ่งที่จะทำให้คุณเริ่มบทสนทนาได้อย่างเป็นธรรมชาติและเร็วขึ้น คือการเรียนรู้คำคุณศัพท์ในภาษาญี่ปุ่น ทำไมน่ะเหรอ? ภาษาญี่ปุ่นส่วนใหญ่มักจะลดรูปประธานในประโยคลงไง ดังนั้น แม้คุณจะพูดว่า 今日は暑いですね วันนี้ร้อนจังเลยนะ คุณอาจจะย่อ เหลือแค่ 暑いですね ร้อนจังเลยนะ หรือเหลือแค่ 暑い!ร้อน!!! ก็ย่อมได้ ดังนั้น ด้วยวิธีเรียนรู้คำคุณศัพท์นี้ คุณจะสามารถพูดได้สั้นลง แต่ใจความยังคงเดิม
นี่เป็นเพราะภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่มีบริบททางภาษาที่สูง ถ้าคุณเอามาเทียบกับภาษาอังกฤษ ซึ่งมีบริบททางภาษาที่ต่ำ คุณอาจจะใช้คำศัพท์เป็นที่พึ่งเพื่อถ่ายทอดความหมายที่คุณจะสื่อออกมาเพียงอย่างเดียว
อย่างไรก็ตาม กับภาษาญี่ปุ่นแล้ว คุณจะต้องคำนึงถึงสถานการณ์นั้นๆในการจะพูดคำบางคำออกไปด้วย ถ้าคุณยืนอยู่กลางสวนสาธารณะ เหงื่อไหลท่วมตัวพร้อมพัดคลายร้อนและคุณพูดว่า 暑い อาซึอิ ร้อน คนที่ฟังอยู่เขาจะเติมคำในช่องว่างและเข้าใจไปว่าคุณพูดถึงตัวเองว่า คุณเป็นคนฮอต แค่นั้น
นั่นหมายความว่า ภาษาญี่ปุ่นอาจเป็นภาษาที่มีปริมาณสั้นๆแต่กลับมีประสิทธิภาพมากในการถ่ายทอดสิ่งที่คุณพูดไปสู่ผู้อื่น นี่มองในแง่บวก แต่ถ้ามองในแง่ลบ มันอาจทำให้บทสนทนาที่คุยกันเกิดความสับสน คลุมเครือได้ ดังนั้นเมื่ออยู่ที่ญี่ปุ่นแล้ว มันไม่เกี่ยวกับว่าคุณพูดอะไร แต่เกี่ยวกับว่า คุณพูดที่ไหน พูดเมื่อไหร่ พูดโดยใครหรือกับใครต่างหาก
เอาตัวอย่างไปอ่านเล่นกัน:
暑い – อาซึอิ – ร้อน
寒い – ซามุยอิ – หนาว
冷たい – ซึเมะไตอิ – เย็น, ใช้กับสิ่งของที่เป็นของเหลว หรือของแข็ง
高い – ทาไค – สูงหรือราคาแพง
安い – ยาซุอิ – ราคาถูก
楽しい – ทาโนะชิอิ – สนุก
นอกจากนี้ยังมีคำคุณศัพท์แบบผันคำ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณจะพูดว่า “สนุกจังเลย” ให้พูดว่า
楽しかった – ทาโนะชิคัตตะ – สนุกจังเลย

เคล็ดลับที่ 6 – เรียนรู้พื้นฐานการผันคำกริยาในภาษาญี่ปุ่น
เหมือนกับคำคุณศัพท์ คุณสามารถใช้คำกริยาเพื่อให้ประโยคสั้นลง แต่ยังได้ใจความอยู่ได้เช่นกัน อีกทั้ง การผันกริยาพื้นฐาน ก็ค่อนข้างง่ายอยู่ คุณสามารถใช้คำกริยาโดดๆไม่ต้องมีประธานในประโยค หรือไม่มีกรรมในประโยคได้เลย เช่นเดียวกันกับคำคุณศัพท์ ลองไปดูพื้นฐานกัน:
行きます – อิคิมัส – ไป (ปัจจุบัน)
行きません – อิคิมะเซน – ไม่ไป (ปัจจุบันรูปปฏิเสธ)
行きました – อิคิมะชิตะ – ไป (อดีต)
行きませんでした – อิคิมะเซน เดชิตะ – ไม่ไป (อดีจรูปปฏิเสธ)
ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ด้วย บางทีคุณอาจพูดแค่ 行きませんでした ที่แปลว่า “ฉันไม่ไป (อดีต)” หรือเพิ่มเสียงสูงเป็นประโยคคำถามว่า “คุณไม่ไปเหรอ? (อดีต)” ก็ได้ สิ่งเหล่านี้มันเอื้อประโยชน์ให้คุณมากพอตัว ฉะนั้น ฝึกใช้ประโยคพื้นฐานสักสามสี่ประโยคก็ยังดี

เคล็ดลับที่ 7 – เสริมพลังให้กับภาษาญี่ปุ่นของคุณด้วยประโยคลงท้าย
ถึงแม้จะมีเครื่องหมายลงท้ายประโยคในภาษาญี่ปุ่นอยู่มากมายมหาศาล คุณจะไม่รู้สึกลำบากเลยถ้าคุณรู้จักการใช้คำว่า “โย่” และ “เน่”
“เน่” หมายความว่า “ใช่ไหม,ว่างั้นมั้ย” ตัวอย่าง:
楽しかったね – ทาโนะชิคัตตะ เน่ – สนุกจังเลย ว่ามั้ย?
いいね – อีอี เน่ – ดีมากเลยใช่มั้ยล่ะ (อีกทั้งยังแทนปุ่ม “ถูกใจ” บนเฟซบุ๊คได้)
“โย่” ใช้เน้นย้ำเรื่องที่คุณอยากเน้น ให้เห็นความรุนแรงของมัน ดังนั้น คุณสามารถพูดได้ว่า:
楽しかったよ – ทาโนะชิคัตตะ โย่ – สนุกมากๆเลย
いいよ – อีอี โย่ – สบายมาก (โอเคสุดๆ)
ใช้คำเน้นพวกนี้จะทำให้คุณพูดได้เป็นธรรมชาติมากขึ้น ฉะนั้นจำมันซะ!

เคล็ดลับที่ 8 – หัดฟังพอดแคสต์สอนภาษาญี่ปุ่น
เอาล่ะๆ ขายของกันตรงๆนี่แหละ ยังไงก็ตาม คุณสามารถเข้าไปฟัง Japanese language learning podcasts here ตรงนี้ได้เลย
คุณอยากที่จะฝึกฟังภาษาญี่ปุ่นให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ในอินเทอร์เน็ตมีให้คุณลองโหลดไปฝึกฟังกันได้เพียบ มันสำคัญมากนะถ้าคุณค้นพบสิ่งที่คุณคิดว่าน่าสนใจดี และคอยผลักดันตัวเองให้พบกับสิ่งเหล่านั้นบ่อยๆ คุณไม่จำเป็นต้องไปจำกัดตัวเองแค่ว่า ฟังพอดแคสต์อย่างเดียวก็พอ หรอก เข้ายูทูบ ดูคลิปต่างๆที่เกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่น ฟังพยากรณ์อากาศในช่องข่าว เอนเอชเค หรือไม่ก็ดูอนิเมะออนไลน์ก็ยังได้
ตอนที่ผมเริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นครั้งแรกเมื่อหลายล้านปีก่อน ผมแค่ไปซื้อหนังสือสอนบทสนทนาภาษาญี่ปุ่นพร้อมแผ่นซีดีในเล่ม มานั่งฟัง นั่งอ่านวนไปวนมาจนเลื่อมใส มันไม่ใช่หนังสือที่เด่อะไรมากมาย แต่มันช่วยผมพัฒนาทักษะการฟัง และการพูดบทสนทนาภาษาญี่ปุ่นได้มากอยู่
ไม่ว่าตอนนี้คุณจะฟังอะไรเพื่อฝึกการฟังของคุณอยู่ จงฟังมันต่อไป แม้ว่าคุณจะฟังไม่กระดิกสักคำเลยก็ตาม จุดมุ่งหมายก็คือการทำความคุ้นเคยกับเสียง จังหวะจะโคนและทำนองเสียงของภาษาญี่ปุ่น เชื่อผมเถอะ มันช่วยพัฒนาทักษะการฟัง และสร้างฐานที่มั่นคงให้กับการพัฒนาทักษะการสนทนาของคุณได้ดีทีเดียว คุณสามารถไปฟังเสียงเล่นซ้ำวนไปมาที่เรียกว่า “เงามืด” ได้ เป็นอีกหนทางหนึ่งในการซ้อมรูปแบบประโยคอย่างที่ได้กล่าวไปในเคลล็ดลับที่ 4

เคล็ดลับที่ 9 – เรียนรู้ฮิรางานะและคาตาคานะ และห้ามใช้โรมาจิ
อันนี้เป็นเคล็ดลับอย่างไว แต่ก็นะ พยายามเรียนรู้ฮิรางานะ และคาตานะให้ได้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ พยายามหนีให้ห่างจากวิธีเรียนภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ “โรมาจิ” ในการสอน เพราะว่ามันจะทำให้คุณสับสนในการอ่านภาษาญี่ปุ่นแบบโรมาจิ อีกทั้ง การอ่านฮิรางานะและคาตาคานะออกจะช่วยในเรื่องการออกเสียงให้ดีขึ้นเล็กน้อย เช่นเดียวกับที่มันบังคับคุณให้พูดญี่ปุ่นในเสียงตั้งต้นของภาษา
และไม่ต้องเขินหรอกนะ ถ้าเพิ่งเริ่มเรียนคันจิตั้งแต่ศูนย์ เอาไว้ไปพูดถึงกันในบทความหน้าละกัน

เคล็ดลับที่ 10 – ออกไปข้างนอกและฝึกภาษาญี่ปุ่นของคุณกัน
ผมได้พูดคุยกับเพื่อนของผมที่เดินทางบ่อย และพูดได้หลายภาษามาก ซึ่งเขาเคยพูดบางอย่างที่น่าสนใจกับผมว่า “ถ้านายมีส่วนร่วมวัฒนธรรมต่างแดน นายไม่จำเป็นต้องเรียนภาษาอะไรเลย”
กล่าวคือ ถ้าคุณเข้าไปมีส่วนร่วมในสิ่งที่คุณชอบ สนใจ กับผู้คนที่พูดภาษาที่คุณอยากจะเรียนรู้มัน เมื่อนั้น คุณจะไปได้ไวกว่าคนอื่น แน่นอนล่ะ ว่าการเข้าชั้นเรียนก็ยังเป็นสิ่งสำคัญอยู่ อย่างไรก็ตาม มันอาจทำให้อะไรๆง่ายขึ้นกว่าการมานั่งจมอยู่กับตัวคันจิ และหลักไวยากรณ์ของพวกมัน จนไม่ได้ออกไปเปิดโลก และไม่ได้ไปฝึกกับเจ้าของภาษาละกัน
ถ้าคุณสร้างโอกาสที่จะเอาตัวคุณไปอยู่ในภาษาญี่ปุ่นให้มากขึ้น ไม่ว่าจะในสถานการณ์ไหนก็ตาม เมื่อนั้นแหละ คุณจะเริ่มซึมซับกับภาษาและเริ่มสื่อสารได้อย่างจริงจัง
ทักษะพูดภาษาญี่ปุ่นของผมก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วเมื่อตอนที่ผมมาเรียนต่อที่ญี่ปุ่นและอาศัยอยู่ในหอพักชายกับเพื่อนร่วมห้องที่พูดภาษาอังกฤษไม่เก่ง ผมเลยถูกสถานการณ์บังคับ ให้ต้องใช้ภาษาญี่ปุ่นทุกวัน ซึ่งมันช่วยผมพัฒนาได้มากเลย ผมยังลงเรียน ไอคิโด เพื่อเพิ่มพลังทักษะการฟังและการพูดภาษาญี่ปุ่นให้กับตัวผมเอง
การได้ออกไปเที่ยวกับเพื่อนชาวญี่ปุ่น ไปนั่งดื่มด้วยกันที่ร้านเหล้าแบบญี่ปุ่นที่เรียกกันว่า “อิซากายะ” นั้น เป็นประสบการณ์ที่ยอดมาก และยังสนุกมากด้วยเช่นกัน เพราะเป็นการรวบรวมทุกสิ่งอย่างที่ผมเรียนในห้องเรียน และเอามาใช้ในชีวิตจริงได้ดีเยี่ยม
แม้ว่าคุณจะไม่ได้อาศัยอยู่ที่ญี่ปุ่น คุณยังสามารถสร้างโอกาสในการพบปะพูดคุยกับชาวญี่ปุ่นได้อยู่ ตัวอย่างเช่น เข้าร่วมกับชมรม ลงเรียนวิชาภาษาญี่ปุ่นหรือหาคนคุยกันในอินเทอร์เน็ตก็ยังได้