Month: July 2017

หนังญี่ปุ่นเรื่อง “แฮปปี้เนส” ได้สอนให้รู้ว่า การใช้เทคโนโลยีมาแก้ไขปัญหาความโศกเศร้ามันยิ่งทำให้ชีวิตย่ำแย่ลง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่คอลัมน์ “กระดาษโกงเกม (Cheat Sheet)” คอลัมน์ที่จะมาวิเคราะห์แยกส่วนหนังที่ฉายในเทศกาลต่างๆ งานเปิดตัววีอาร์ และงานอีเวนต์พิเศษอื่นๆอีกมากมาย บทวิจารณ์นำมาจากงานฉายภาพยนตร์เอเชียที่นิวยอร์ก หรืองาน New York Asian Film Festival นั่นเอง หนังญี่ปุ่นเรื่อง “แฮปปี้เนส” เปรียบเหมือนกับการขับรถสีดำทะมึน บนถนนที่มุ่งไปสู่เงามืดอย่างช้าๆ ยิ่งขับไปลึกเท่าไร ก็ยิ่งมองไม่เห็นแสงมากเท่านั้น จากนั้น หน้าต่างก็เลื่อนลงมา เผยให้เห็นใบหน้าคนขับที่จ้องมองผู้ชมอย่างไม่กระพริบ แล้วก็ขับรถหายไปในพริบตา ทิ้งไว้ซึ่งความรู้สึกอึ้งอย่างบอกไม่ถูกแก่ผู้ชม เหมือนในหนังเรื่องนี้ที่ไม่ยอมอธิบายความเป็นมาเป็นไปของตัวละครหลักให้ผู้ชมเข้าใจเลย รู้เพียงแค่เป็นชายหนุ่มไว้ผมทรงเอลวิส เพรสลีย์ ที่เอาแต่คร่ำครวญกับเรื่องราวต่างๆ น่าสงสารเนอะ เพราะว่าจุดแข็งของหนังเรื่องนี้คือการที่ค่อยๆเผยเรื่องราวของตัวละคร การเล่าเรื่องที่ค่อยๆสร้างอารมณ์ร่วมให้กับผู้ชม และรู้สึกไปกับตัวละครนั้นๆ ความเงียบ วังเวงที่แผ่ซ่านไปทั่วตัวหนัง และการใช้ความเนือยให้กับหนังเพื่อเอาไปขยี้ในฉากไคลแมกซ์ ขณะที่เสียงบรรยากาศรอบๆทำหน้าที่สะท้อนอารมณ์ ความนึกคิดของตัวเอกให้ผู้ชมเห็น หนังเรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องมีดนตรี เพราะหนังใช้ความเงียบมาทำให้หนังดูเป็นสัจนิยม ซึ่งก็เป็นประโยชน์แก่ท้องเรื่องที่มีความเป็นแฟนตาซีหน่อยๆเหมือนกัน แล้วมันแนวไหนล่ะ เรื่องนี้? แนวอินดี้ ลึกลับ ที่มีส่วนประกอบของเครื่องมือที่รวมเอานวนิยายไซไฟกับแพทย์แผนโบราณของเอเชียเข้ามาไว้ด้วยกัน เรื่องมันเป็นยังไง? เนื้อเรื่องจะพูดถึงหมวกกันน็อกลึกลับใบหนึ่งที่ติดแป้นตัวอักษรพิมพ์ดีดสีทองไว้เต็มหมวก พร้อมด้วยระบบปฏิบัติการอยู่ภายในหมวกเพื่อฝังภาพเสมือนจริงเข้าสู่สมองผู้สวมใส่ หน้าตามันเหมือนหมวกใส่กับรถจักรยานยนต์ที่ดูออกจะดุดันหน่อยๆ ประดิษฐ์โดยชายชื่อว่า คันซากิ (รับบทโดย มาซาโตชิ…

Read the full article

การให้ทิปในประเทศญี่ปุ่น

การให้ทิปกับพนักงานหรือบริการต่างๆในญี่ปุ่นนั้นอาจนำพาไปสู่สถานการณ์ที่น่าอึดอัดใจ หรือแย่กว่าไปกว่านั้น อาจถูกมองว่าเป็นการดูถูกได้ คิดซะว่าทุกราคาในญี่ปุ่นนั้นจะรวมค่าทิปพนักงานไว้แล้ว แต่มาในรูปแบบเซอร์วิสชาร์ท หรือค่าบริการแทน! แต่มันก็ยังมีข้อยกเว้นอยู่บ้าง โดยเฉพาะชาวตะวันตกที่มาเที่ยวญี่ปุ่นและชอบให้ทิปในสถานที่ๆไม่ต้องให้อยู่ การให้ทิปจริงๆแล้วไม่ได้เป็นวัฒนธรรมของแถบเอเชียมาตั้งแต่แรก ในบางประเทศอย่างญี่ปุ่นที่เงินทิปนั้นเป็นสิ่งแปลกปลอม การให้ทิปที่ไม่ถูกที่ถูกทางอาจเป็นการพูดกลายๆว่า “กิจการที่นี่มันไม่เห็นจะได้เรื่องอะไรเท่าไหร่นักนะ เอ้านี่ เงินค่าตอบแทนพิเศษสักหน่อยเป็นไง” กฎการไว้หน้าซึ่งกันและกันจึงเข้ามามีบทบาททันที ในบางสถานการณ์ พนักงานจะรับเงินทิปของคุณพร้อมกับรอยยิ้มเจื่อนๆเพื่อกลบเกลื่อนไม่ให้คุณรู้สึกอึดอัดใจแล้วก็คืนเงินทิปกลับมาให้คุณ ที่ทำเช่นนี้อาจเป็นเพราะพวกเขาอธิบายให้คุณฟังว่าทำไมถึงคืนเงินทิปของคุณด้วยภาษาอังกฤษไม่ค่อยจะคล่องเท่าไหร่ การให้ทิปกันในญี่ปุ่นด้วยเจตนาที่ไม่ดี หรือให้ผิดกาลเทศะ อาจเป็นที่หยาบคายและดูงี่เง่าก็เป็นได้ มีไม่กี่อย่างหรอกที่สามารถยกเว้นกันได้ในการให้ทิป (ตัวอย่างเช่น คุณอาจให้ “ของขวัญ” เล็กๆน้อยๆแก่เพื่อนของคุณ ถือเป็นค่าเหนื่อยหรือค่าชดเชยเวลาที่เพื่อนคุณทำอะไรบางอย่างให้คุณ เป็นต้น) วิธีให้ทิปที่ถูกที่ควรกันในประเทศญี่ปุ่น มีโอกาสไม่บ่อยนักจะสามารถให้ทิปได้อย่างไม่น่าเกลียด ถ้ามี ก็ควรให้โดยเอาเงินทิปใส่ไว้ในซองที่ตกแต่งสวยงาม มีรสนิยม แล้วก็ปิดผนึกมัน เงินทิปนี้ก็จะแทนตัวแทนว่าเป็นของขวัญมากกว่าที่จะเป็นแค่เงินค่าตอบแทนเพิ่มเติมสำหรับบริการต่างๆ ที่คุณไปใช้ ยื่นซองให้พนักงานโดยจับด้วยมือทั้งสองข้างแล้วโค้งคำนับเล็กน้อย ถ้าหากผู้รับโค้งคำนับแสดงความขอบคุณ ให้คุณโค้งคำนับเขาตอบให้เหมาะให้ควร อย่าไปคาดหวังว่าพวกเขาจะเปิดซองของคุณในทันที พวกเขาจะเก็บไว้ข้างๆตัวแล้วจะติดต่อคุณกลับไปเพื่อแสดงคำขอบคุณ การให้ของขวัญตามด้วยมารยาทงามๆจะช่วยให้ทั้งผู้ให้และผู้รับไม่รู้สึกอายขายหน้าแต่อย่างใด เตือนความจำ: การหยิบเงินออกมาจากกระเป๋าของคุณต่อหน้าผู้รับเงินคุณป็นสิ่งที่แย่มากในการทำธุรกรรมใดๆก็ตาม การให้ทิปกับพนักงานตามโรงแรม แม้ว่าตามโรงแรมห้าดาวบางแห่งจะถือว่าการให้ทิปเป็นเรื่องที่รับได้ก็ตามที แต่พนักงานโรงแรมส่วนใหญ่ที่คุณพบเจอจะได้รับการฝึกปฏิเสธเงินทิปของลูกค้าอย่างสุภาพ อย่าไปยัดเยียดเงินทิปให้แก่พวกเขานัก เพราะมันอาจเป็นเรื่องต้องห้ามและส่งผลต่อการจ้างงานของพวกเขาได้ เหตุใดการให้ทิปในแถบเอเชียถึงไม่ใช่ความคิดที่ดีนัก? ด้วยข้อยกเว้นบางประการ เช่นในฟิลิปปินส์ ประเทศแถบเอเชียไม่มีการวัฒนธรรมหรือประวัติการให้ทิปมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว อันที่จริง การให้ทิปแก่ใครสักคนนั้น…

Read the full article

10 ธรรมเนียมที่ควรรู้ก่อนไปเที่ยวญี่ปุ่น

1.การเรียกชื่อผู้อื่นด้วยความเคารพ การโค้งคำนับเปรียบได้กับศิลปะชนิดหนึ่งของญี่ปุ่น เด็กๆชาวญี่ปุ่นจะได้รับการปลูกฝังเรื่องการเคารพนี้ตั้งแต่ก่อนที่พวกเขาจะเข้าโรงเรียน แต่สำหรับนักท่องเที่ยวทั่วไปแล้ว แค่โน้มหัวลงเล็กน้อยหรือโค้งคำนับถึงช่วงเอวก็เพียง พอแล้ว ระยะยเวลาในการค้างอยู่ที่ท่าโค้งคำนับนั้นจะขึ้นอยู่กับระดับสัดส่วน ความสูงของผู้ที่คุณกำลังทักทายด้วยเช่นกัน เช่น การทักทายกับเพื่อนฝูง ก็จะโค้งให้กันอย่างรวดเร็ว โน้มตัวลงมาประมาณ 30 องศาก็พอ ส่วนการทักทายกับคนที่ตำแหน่งงานสูงกว่าคุณ หรืออาวุโสกว่า การโค้งคำนับก็อาจจะค้างนานขึ้นมานิดหน่อย พร้อมทั้งโน้มตัวลงมาต่ำลงกว่าที่คุณทักทายเพื่อน ประมาณ 70 องศาด้วย แต่ทั้งหมดนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและตำแหน่งทางสังคมด้วย เพิ่มเติมในส่วนของเรื่องโค้งคำนับ การเรียกชื่อผู้อื่นก็เป็นสิ่งสำคัญด้วย อย่างคุณเรียก “ดร. สมิธ” ว่า “สมิธ” เฉยๆอาจเป็นการไม่สุภาพและสื่อไปในเชิงดูหมิ่น ในฝั่งประเทศญี่ปุ่นก็ถือเป็นการไม่ให้ความเคารพเช่นกัน ถ้าคุณไม่ได้ลงท้ายว่า “ซัง” หรือ “ซามะ” ตามหลังนามสกุลของพวกเขา โดยปกติแล้ว การเรียกเด็กๆสามารถเรียกแค่ชื่อของพวกเขาได้เลย แต่คุณสามารถลงท้ายตามหลังชื่อของเด็กๆว่า “จัง” สำหรับเด็กผู้หญิง และ “คุง” สำหรับเด็กผู้ชายได้เช่นกัน 2.มารยาทบนโต๊ะอาหาร อธิบายาเป็นข้อๆได้ดังนี้ เมื่อคุณอยู่ในงานปาร์ตี้มื้อค่ำงานหนึ่งแล้วมีคนยื่นเครื่องดื่มให้ ให้คุณหยุดคอยสักครู่ก่อน รอให้เครื่องดื่มเสิร์ฟครบหมดทั้งโต๊ะ แล้วจะมีคนกล่าวนำ ยกแก้วขึ้นพร้อมกล่าวคำว่า “คัมปาย” (ดื่ม) แล้วจึงดื่ม แทบทุกร้านอาหารในญี่ปุ่นจะมีการแจกผ้าให้แก่ลูกค้า…

Read the full article