Category: วัฒนธรรม

5 สิ่งในญี่ปุ่นที่ผมจะไม่มีวันคุ้นชินกับมัน

ช่วงที่ผมอาศัยอยู่ในญี่ปุ่นได้ประมาณสัปดาห์กว่าๆ ผมเดินเข้าไปในร้านสะดวกซื้อ มองหาของกินที่คุ้นปาก เพื่อบรรเทาอาการคิดถึงบ้านสักหน่อย ผมก็ได้ไปเจอกับสิ่งๆหนึ่ง หน้าตาคล้ายกับของกินที่ประเทศผม ผมลองกัดลงไปคำหนึ่ง แค่คำเดียว ผมก็ถูกจู่โจมจากน้ำตาล เนื้อครีมผสมที่หวานเลี่ยนอย่างไม่คาดคิด หวานชนิดที่วิลลี วองก้าต้องพูดออกมาเลยว่า มันอันตรายต่อสุขภาพ ผมรักประเทศญี่ปุ่น ไล่ตั้งแต่ผู้คน ไปจนถึงขนมโมจิที่เต็มไปด้วยช็อคโกแลตและมาร์ชเมลโลว์ มันช่างเป็นสถานที่ที่น่าทึ่งจริงๆ แต่มันก็มีบางสิ่งที่ผมรับได้ ถึงแม้จะอยู่ห่างไกลจากบ้านผมที่อังกฤษมากก็ตาม ผมก็ยังรับได้ ขณะที่บางสิ่ง ยังทำใจให้คุ้นเคยกับมันได้ยากอยู่ เช่นเจ้าขนมปังที่เต็มไปด้วยน้ำตาล และครีมผสมรสชาติหวานเลี่ยนเป็นต้น วันแรกในญี่ปุ่นของผมนั้น ผมเดินเข้าไปในร้านๆหนึ่งและสะดุ้งเข้ากับเสียงทักทายที่ผมคิดว่าทุกคนต้องเคยได้ยิน ผมยอมรับว่า สิ่งแรกที่ผมตอบกลับไปหลังจากที่เจ้าของร้าน และพนักงานร้านร้องพร้อมกันว่า “อิรัชไชมัตเสะ!” คือ “ขอโทษครับ ผมพูดภาษาญี่ปุ่นไม่เป็น” พนักงานทั้งร้านมองมาที่ผมด้วยสายตาที่งงงวย และพวกเราเห็นพ้องต้องกันว่า อย่าพูดถึงมันอีก แต่ตอนนี้ผมยืดอกรับเลย คิดซะว่าเรากำลังรับพระราชประกาศอยู่ก็เหมาะดี แม้ว่า วัฒนธรรมในหลายๆแง่มุมของญี่ปุ่นจะเป็นอะไรที่ง่ายต่อการทำความคุ้นเคย แต่ก็ยังมีอีกแง่มุม ที่ผมคิดว่าชาตินี้คงไม่มีวันเข้าใจแน่นอน ผมเชื่อว่าชาวต่างชาติที่มาตั้งรกรากที่นี่ต้องคิดแบบเดียวกับผม ตั้งแต่วิธีรับประทานอาหาร จนไปถึงวิธีการจาม นี่คือลักษณะเฉพาะตัวที่แปลกประหลาดของญี่ปุ่นที่ทำให้ผมงงงวยมาจนทุกวันนี้ 1.เรื่องของก๋วยเตี๋ยว ตั้งแต่ผมเติบโต และก้าวเข้ามาในโลกของผู้ใหญ่ และสามารถทำอาหารเลี้ยงชีพตัวเองได้แล้วนั้น ผมเรียนรู้มาว่ามีอยู่สองสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการรับประทานอาหาร: เคี้ยวอาหารต้องปิดปากให้สนิท และกะหล่ำปลีบรัสเซลล์เป็นสิ่งที่ชั่วร้าย และต้องถูกชำระล้างด้วยไฟบรรลัยกัลป์ ดังนั้น…

Read the full article

หนังญี่ปุ่นเรื่อง “แฮปปี้เนส” ได้สอนให้รู้ว่า การใช้เทคโนโลยีมาแก้ไขปัญหาความโศกเศร้ามันยิ่งทำให้ชีวิตย่ำแย่ลง

ยินดีต้อนรับเข้าสู่คอลัมน์ “กระดาษโกงเกม (Cheat Sheet)” คอลัมน์ที่จะมาวิเคราะห์แยกส่วนหนังที่ฉายในเทศกาลต่างๆ งานเปิดตัววีอาร์ และงานอีเวนต์พิเศษอื่นๆอีกมากมาย บทวิจารณ์นำมาจากงานฉายภาพยนตร์เอเชียที่นิวยอร์ก หรืองาน New York Asian Film Festival นั่นเอง หนังญี่ปุ่นเรื่อง “แฮปปี้เนส” เปรียบเหมือนกับการขับรถสีดำทะมึน บนถนนที่มุ่งไปสู่เงามืดอย่างช้าๆ ยิ่งขับไปลึกเท่าไร ก็ยิ่งมองไม่เห็นแสงมากเท่านั้น จากนั้น หน้าต่างก็เลื่อนลงมา เผยให้เห็นใบหน้าคนขับที่จ้องมองผู้ชมอย่างไม่กระพริบ แล้วก็ขับรถหายไปในพริบตา ทิ้งไว้ซึ่งความรู้สึกอึ้งอย่างบอกไม่ถูกแก่ผู้ชม เหมือนในหนังเรื่องนี้ที่ไม่ยอมอธิบายความเป็นมาเป็นไปของตัวละครหลักให้ผู้ชมเข้าใจเลย รู้เพียงแค่เป็นชายหนุ่มไว้ผมทรงเอลวิส เพรสลีย์ ที่เอาแต่คร่ำครวญกับเรื่องราวต่างๆ น่าสงสารเนอะ เพราะว่าจุดแข็งของหนังเรื่องนี้คือการที่ค่อยๆเผยเรื่องราวของตัวละคร การเล่าเรื่องที่ค่อยๆสร้างอารมณ์ร่วมให้กับผู้ชม และรู้สึกไปกับตัวละครนั้นๆ ความเงียบ วังเวงที่แผ่ซ่านไปทั่วตัวหนัง และการใช้ความเนือยให้กับหนังเพื่อเอาไปขยี้ในฉากไคลแมกซ์ ขณะที่เสียงบรรยากาศรอบๆทำหน้าที่สะท้อนอารมณ์ ความนึกคิดของตัวเอกให้ผู้ชมเห็น หนังเรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องมีดนตรี เพราะหนังใช้ความเงียบมาทำให้หนังดูเป็นสัจนิยม ซึ่งก็เป็นประโยชน์แก่ท้องเรื่องที่มีความเป็นแฟนตาซีหน่อยๆเหมือนกัน แล้วมันแนวไหนล่ะ เรื่องนี้? แนวอินดี้ ลึกลับ ที่มีส่วนประกอบของเครื่องมือที่รวมเอานวนิยายไซไฟกับแพทย์แผนโบราณของเอเชียเข้ามาไว้ด้วยกัน เรื่องมันเป็นยังไง? เนื้อเรื่องจะพูดถึงหมวกกันน็อกลึกลับใบหนึ่งที่ติดแป้นตัวอักษรพิมพ์ดีดสีทองไว้เต็มหมวก พร้อมด้วยระบบปฏิบัติการอยู่ภายในหมวกเพื่อฝังภาพเสมือนจริงเข้าสู่สมองผู้สวมใส่ หน้าตามันเหมือนหมวกใส่กับรถจักรยานยนต์ที่ดูออกจะดุดันหน่อยๆ ประดิษฐ์โดยชายชื่อว่า คันซากิ (รับบทโดย มาซาโตชิ…

Read the full article